วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การปลูกส้มโอ

พันธุ์ส้มโอ
พันธ์ส้มโอที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ปลูกคนละท้องที่ จึงเรียก ชื่อแตกต่างกันไป พันธุ์ส้มโอที่ปลูกเพื่อการค้าแบ่งออกได้ดังนี้


1 . พันธุ์การค้าหลัก ได้แก่ ขาวพวง ขาวทองดี ขาวน้ำผึ้ง เป็นต้น









2. พันธุ์การค้าเฉพาะแห่ง ได้แก่ ขาวแป้น ขาวหอม ขาวแตงกวา ท่าข่อย ขาวใหญ่ หอมหาดใหญ่ เจ้าเสวย กรุ่น ขาวแก้ว เป็นต้น

พันธุ์ขาวพวง
ผลมีขนาดโตปานกลาง ทรงผลกลม ทรงสูงเล็กน้อย มีจุกสูง มีกีบที่จุก ด้านก้นผลเว้าเล็กน้อย ผิวเรียบ มีสีเขียวอมเหลีอง ต่อมน้ำมันที่ผิวเปลือกค่อนข้างใหญ่ อยู่ห่างกันพอสมควร เปลือกหนาปานกลาง ผลหนึ่งมีกลีบผล ประมาญ 12 - 14 กลีบ แยกออกจากกันได้ง่าย กุ้ง (เนื้อ) มีสีขาวอมเหลือง ค่อนข้างแข็งเบียดกันอยู่อย่างหลวม มีน้ำมากแต่ไม่แฉะน้ำ รสหวานอมเปี้ยว มีเมล็ดไม่มาก เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ไนเทศกาลไหว้พระจันทร์ เนื่องจากมีรูปทรง ผลสวย (ทรงผลมีสกุล) จึงสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทค ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ได้ปีละเป็นจำนวนมาก


พันธุ์ขาวทองดีหรือทองดี
ผลมีขนาดโตปานกลาง ทรงผลกลมแป้น ไม่มีจุก ต้นขั้วผลมีจีบเล็กน้อย ก้นผลเรียบถึง เว้าเล็กน้อย ผิวเรียบมีสีเขียวเข้ม ต่อมน้ำมันละเอียดอยู่ชิดกัน เปลือกค่อนข้างบาง ด้านในของเปลือกมีสีชมมพูเรื่อๆ ผลหนึ่ง มีกลีบผลประมาณ 14-16 กลีบ ผนังกลีบมีสีชมพูอ่อน กุ้งมี สีชมพูเบียดกันแน่น นิ่ม ฉ"าน้ำ รสหวานอมเปี้ยว เมล็ดมี ขนาดเล็ก เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปและส่งไปจำหน่าย ยังต่างประเทศ
 
พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทรงผลกลมสูง แต่ไม่มีจุกเด่นชัดเหมือนพันธุ์ขาวพวง ด้านก้นผลเรียบ ต่อม น้ำมันที่ผิวเปลือกมีขนาดใหญ่อยู่กันห่างๆ ผิวเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกค่อนข้างหนา ผลหนึ่งมีกลีบผลประมาณ 11-12 กลีบ แยกออกจากกันง่าย กุ้งมีสีขาวอมเหลือง ขนาดกุ้งค่อนข้างใหญ่ เบียดกันแน่น มีน้ำมากแต่ไม่แฉะ รสหวานอมเปรี้ยว สามารถ แกะเนื้อออกมาได้ง่าย เมล็ดมีขนาดใหญ่ แต่มีเมล็ดไม่มากนัก เป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไป
 
สภาพดินฟ้าอากาศ
ส้มโอสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกขนิด ไม่ว่าจะ เป็นดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดีน้ำ ไม่ท่วมขังแฉะ แต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกันไป พื้นที่ปลูก ที่ทำให้ส้มโอเจริญงอกงามดี ผลดก และมีคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่ดินโปร่ง ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุอยู่มาก ระบายน้ำได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องยกร่อง เพื่อให้มีการระบาย น้ำได้ดี ควรมีระดับน้ำใต้ดินไม่น้อยกว่า 4 ฟุต น้ำไม่ขังแฉะ ดินมีความเป็นกรดด่างประมาณ 5.6-6 น้ำต้องได้รับสม่ำเสมอ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,500 - 2,000 มิลลิเมตร และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมเฉลี่ยประมาณ 25 - 30 องคาเซลเซียส
 
การขยายพันธุ์ส้มโอทำได้หลายวิธีคือ


1.การเพาะเม็ด

2.การติดตา

3.การเสียบกิ่ง

4.การตอน

แต่ที่ชาวสวนนิยมทำอยู่ในปัจจุบันคือการตอน ซึ่งเป็น วิธีที่ชาวสวนส้มโอมีความชำนาญมาก เนื่องจากมีข้อดีหลาย ประการ เช่น วิธีการทำง่าย ุอุปกรณ์หาได้ง่าย ราคาถูก ออกรากเร็ว ต้นที่ได้ไม่กลายพันธุ์ ให้ผลเร็ว ต้นไม่สูง ทรงต้น เป็นพุ่ม สะดวกในการเข้าไปดูแลรักษา แต่ก็มีข้อเสียคือ อายุไม่ ยืน และอ่อนแอต่อโรค อุปกรณ์ที่ใช้ไน่การตอนกิ่งส้มโอมีดังนี้

1.มีด

2.ขุยมะพร้าว

3.ถุงพลาสติก

4.เชือกฟาง

ฤดูที่ทำการตอนกิ่งส้มโอ

ตามปกติแล้ว การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะทำการตอนใน ฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะ ในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ฝนตก บ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน



การคัดเลือกกิ่งตอน

ก่อนที่จะทำการคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน ต้อง พิจารณาเลือกต้นก่อน เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย ซึ่งมีหลักในการ พิจารณาหลายประการ เช่น

เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถ จะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ ตามมาได้อีก

เป็นต้นที่ให้ผลดก ให้ผลสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ดี และมีรสดี

เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต แข็งแรง สังเกต จากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ

เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน



เมื่อเลือกได้ต้นที่ดีแล้ว จึงมาทำการคัดเลือกกิ่งที่จะ ตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อย คำนึงถึงกัน เห็นกิ่งใดพอที่จะตอนได้ก็ตอนหมด ซึ่งนับว่าไม่ ถูกต้อง เพราะว่าต้นไม้แต่ละต้นมีกิ่งที่มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์ไม่เท่ากัน บางกิ่งก็แข็งแรงดี บางกิ่งแคระแกน อ่อนแอ บางกิ่งก็แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้กิ่งตอน ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกกิ่งตอนดังนี้

1 . กิ่งที่จะใช้ตอนนั้น ต้องเป็นกิ่งเพสลาด คือไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป มีใบยอดคลี่เต็มที่ และเจริญเติบโตจนเป็น ใบแก่แล้ว

2. กิ่งที่จะตอนควรจะเป็นกิ่งกระโดงตั้งตรง หรือเอียง เล็กน้อย ไม่เป็นกิ่งที่ห้อยเอายอดลงดิน เพราะจะทำให้รากที่ งอกออกมางอ เมื่อตัดไปปลูกจะได้กิ่งตอนที่ปลายรากชี้ฟ้า

3. เป็นกิ่งที่มีความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร มีกิ่งแขนงแยกออก 2-3 กิ่ง

4. เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตแข็งแรงปราศจากโรคและ แมลง


วิธีตอนกิ่ง
เมื่อเลือกได้กิ่งที่สมบูรณ์ตามต้องการแล้ว จึงทำการ ควั่นกิ่ง การควั่นนั้นให้ควั่นที่ใต้ข้อของกิ่งเล็กน้อย เนื่องจาก บริเวณข้อของกิ่งจะสะสมอาหารไว้มาก ทำให้การงอกของ รากเร็ว และได้รากจำนวนมาก รอยควั่นด้านล่างห่างจาก รอยควั่นบนเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง กรีดที่ เปลือกระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกตรงรอยควั่นออก ส่วนมากแล้วกิ่งที่ลอกเปลือกออกได้ง่ายจะงอกรากได้เร็วกว่า กิ่งที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้มีดขูดเยื่อเจริญซึ่งมีลักษณะเป็น เยื่อลื่นๆ ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเจริญมาประสานกัน ต่อได้อีก ซึ่งจะทำให้รากไม่งอก สังเกตได้โดยใช้มือจับดู ถ้าหาก ลื่นแล้วแสดงว่าขูดเยื่อเจริญออกหมดแล้ว


นำถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้มาผ่าตรงกลาง จากด้านที่ มีเชือกมัดจนถึงก้นถุงใช้มือแหวกขุยมะพร้าวให้แยกออกเป็นร่อง นำไปหุ้มรอยควั่น พร้อมกับมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นอย่าให้ ถุงขุยมะพร้าวหมุนได้


การปฏิบัติบำรุงรักษากิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งเสร็จแล้ว ต้องคอยลังเกต ตุ้มตอนว่ามีมดหรือปลวกเข้าไปทำรังอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รีบ ทำการกำจัดโดยใช้ยาเคมีฉีดพ่นที่ตุ้มตอนหรือถ้าตุ้มตอนมีการ ชำรุดเนื่องจากมีสัตว์มาทำลาย กให้ทำการซ่อมแซมใหม่

การตัดกิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งเสร็จแล้ว ต้องคอยลังเกต ตุ้มตอนว่ามีมดหรือปลวกเข้าไปทำรังอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รีบ ทำการกำจัดโดยใช้ยาเคมีฉีดพ่นที่ตุ้มตอนหรือถ้าตุ้มตอนมีการ ชำรุดเนื่องจากมีสัตว์มาทำลาย กให้ทำการซ่อมแซมใหม่
 
ระยะปลูก
เนื่องจากต้นส้มโอที่ใช้ปลูกกันส่วนมากได้จากกิ่งตอน จึงมีทรงพุ่มไม่กว้างมากนัก ดังนั้นถ้าปลูกใน สภาพที่ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ดีก็อาจจะมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 8 x 8 เมตร แต่ถ้าปลูกในสภาพที่ดินไม่สู้จะอุดมสมบูรณ์เท่าไรนัก หรือที่ มีระดับน้ำใต้ดินสูงก็อาจจะปลูกให้มีระยะระหว่างต้น ระหว่างแถว ประมาณ 6 x 6 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 25-40 ต้น
 
การปลูก
ดังที่กล่าวมาแล้ว ส้มโอสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด เช่น ดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย การปลูก ส้มโอในดินแต่ละชนิดจึงต้องมีการเตรียมพื้นที่ไม่เหมือนกัน เพื่อเป็นการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมในการปลูกจึงแยก การปลูกส้มโอออกได้ 2 วิธี คือ


1. การปลูกส้มโอในดินเหนียวซึ่งมีน้ำท่วมถึง
ในสภาพพื้นที่ของเขตอำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นต้น สภาพทั่วไ่ปจะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่ง แม่น้ำ ดินเหนียวจัด ระบายน้ำยาก มีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนมากจะดัดแปลงมาจากท้องนา สวนผัก แล้วยกร่องให้เป็น แปลงขิ้น ให้ระดับดินสูงกว่าพื้นที่ราบทั่วไป เพื่อรากส้มโอได้ กระจายได้ลึกกว่าปกติ ระหว่างแปลงดินจะมีทางน้ำ สามารถ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และช่วยระบายน้ำออกในฤดูฝน ขนาด ของแปลงดินกว้างประมาญ 6 เมตร ร่องน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร และที่ก้นร่องน้ำกว้างประมาณ 50 ซ.ม. -70 ซ.ม. และ ลึกประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวของแปลงดินไม่จำกัด แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของสวน






2. การปลูกส้มโอในที่ดอน




ที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงการปลูกส้มโอในพื้นที่แบบนี้ไม่ต้องยกร่อง ควรปรับพื้นที่ให้เรียบ ทำลายวัชพืชและไถกลบดินให้ลึกสัก 2 ครั้ง ถ้าเป็นดินเก่าที่ ไม่สู้จะอุดมสมบูรณ์ก็ควรหว่านพืชตระกูลถั่วลงแล้วไถกลบ เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยสดให้กับดิน

วิธีปลูก
ถ้าเป็นการปลูกส้มโอแบบยกร่อง จะปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 6 เมตร โดยขุดหลุมปลูกกลางแปลงดิน ส่วนการปลูกในพื้นที่ดอนจะปลูกตามลักษณะของพื้นที่โดยให้มีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ 6 x 6 เมตร



หลุมปลูกควรมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ขุดหลุมแยกดินบนและดินล่างไว้แยกกัน กองไว้ปากหลุม แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 เดือน เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคเชื้อราต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน ผสมดินปนกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หญ้าแห้ง และบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมจนเต็มปากหลุม นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้ปลูกตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินอยู่เหนือตุ้มกาบมะพร้าว กิ่งตอนเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับพอดีกับระดับดินที่ชำ แล้วใช้ไม้หลักปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม หาวัสดุพรางแสงแดด เช่น ทางมะพร้าว หรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่พรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ


ในระยะที่ปลูกส้มโอใหม่ ๆ ต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวได้ เมื่อส้มโอเจริญเติบโตดีแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น

2. การใส่ปุ๋ย

ส้มโอควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกควบคู่กันไป ในระยะที่ส้มโออายุ 1 - 3 ปี หรือยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 - 15 ปุ๋ยเคมีใช้อัตรา 300-500 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ 3 - 4 ครั้ง/ปี เมื่อส้มโอให้ผลแล้วเมื่อ อายุ 4 ปีขึ้นไป การใส่ปุ๋ยจะแตกต่างกันไปตามช่วงของการ ออกดอกติดผล กล่าวคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วจะให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อให้ต้นส้มโอฟื้นตัวจากการออกผลเร็วขึ้น เมื่อส้มโอจะเริ่มออกดอกใหม่ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ 12 - 24 - 12 เพื่อช่วยให้มีการสร้างดอกดีขึ้น เมื่อติดผล แล้วประมาณ 30 วัน ขณะที่ผลยังเล็กอยู่ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตของผลดีขึ้น จนกระทั่ง ผลมีอายุได้ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 เพื่อช่วยให้ ผลมีการพัฒนาด้านคุณภาพของเนื้อดีขึ้น มีความหวานมากขึ้น ส่วนอัตราการใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่มและ จำนวนผลที่ติดในแต่ละปี โดยทั่วไปเมื่อต้นส้มโออายุได้ 6-7 ปี ก็จะโตเต็มที่ การใส่ปุ๋ยอาจจะใส่ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม สำหรับต้นส้มโอที่มีการติดผลมาก ควรใส่ปุ๋ยทางใบเสริม เพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีคุณภาพดี หรือต้นส้มโอที่มีสภาพโทรม มาก ๆ จากการที่มีน้ำท่วมหรือน้ำเค็มควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมจะ ช่วยให้การฟื้นตัวของต้นส้.มโอเร็วขึ้น

วิธีการใส่ปุ๋ยโรยบนพื้นดินภายในบริเวณทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ซิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือก รอบโคนต้นส้มโอเน่า และอาจทำให้ส้มโอตายได้

3. การตัดแต่งกิ่ง

ควรตัดแต่งกิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้นให้หมด รวมทั้งกิ่ง ที่ไม่ได้ระเบียบ กิ่งที่มีโรคแมลงทำลายออกทิ้ง การตัดแต่งกิ่งควร ทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งฉีก หลังจากตัดแต่งกิ่งควรใช้ ยากันเชื้อราหรือปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงรอยแผลที่ตัด เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา เดษที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่ง ควรรวมไว้เป็นกองแล้วนำไปเผาทำลายนอกสวน

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

1.เพื่อให้การออกดอกติดผลดีขึ้น เนื่องจากใบได้รับ แสงแดดทั่วถึงกัน การปรุงอาหารของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป

3.ช่วยให้กิ่งแย่งอาหารลดน้อยลง เพราะกิ่งนี้ ชาวสวนต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่คอยแย่งอาหารและไม่ค่อยออก ดอกติดผล

4.ช่วยทำให้ขนาดของผลส้มสมสม่ำเเสมอได้ขนาดตามที่ ตลาดต้องการ



4. การกำจัดวัชพืช

ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหาจากวัชพืชที่ขั้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้วังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงอีกด้วย จึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก แต่การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชอื่นให้หมดไปเลยก็ไม่ดีควรให้มีเหลืออยู่บ้างจะช่วยยึดดินไม่ให้หน้าดินพังทลาย รวมทั้งช่วยป้องกันกายระเหยของน้ำได้อีกด้วย ่

การกักน้ำส้มโอเพื่อการออกดอก
การกักน้ำส้มโอเป็นการบังคับน้ำเพื่อให้ส้มโอออกดอก เร็วขึ้นและสม่ำเสมอกันโดยการกักน้ำหรือสูบน้ำออกจากร่อง สวนให้แห้งทิ้งไว้ ประมาณ 7 - 30 วัน ระหว่างนี้ส้มโอจะเฉา ใบมีลักษณะห่อ จึงปล่อยน้ำให้เข้าไปใหม่ ส้มโอจะรีบดูดน้ำ เข้าไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมกับมี ช่อดอกออกมาด้วย นับจากให้น้ำจนถึงออกดอกใช้เวลาประมาณ 15 - 60 วัน วิธีนี้สามารถทำให้ส้มโอออกดอกเร็วขึ้นตามต้องการ ได้ แต่จะเป็นการทำให้ต้นส้มไอโทรมเร็วกว่าที่ปล่อยให้ส้มโอทยอยออกดอกตามธรรมชาติ

การป้องกันน้ำเค็มและน้ำเสีย
เนื่องจากสวนส้มโอส่วนมากที่อยู่ในภาคกลางมักจะทำ สวนกันด้วยการยกร่อง เมื่อถึงฤดูแล้งมักจะประสบปัญหาน้ำเค็ม เอ่อเข้าท่วมสวนอยู่มาก สวนส้มโอจึงมักจะได้รับความเสียหาย จากน้ำเค็มเป็นประจำ จึงควรทำการปีองกันน้ำเค็มและน้ำเสีย ไม่ให้เข้าทำลายส้มโอดังนี้


1.เมื่อเข้าฤดูแล้งให้รีบกักน้ำจืดไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่ น้ำเค็มหรือน้ำเสียจะเข้าถึงแล้วสร้างทำนบคันดินรอบสวน เพื่อกันน้ำเค็มเข้า และหมั่นตรวจดินทำนบกั้นน้ำและประตู ระบายน้ำ (ลูกท่อ) อย่าให้รั่วซึมได้

2.รดน้ำให้ส้มโออย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มี น้ำจืดใช้อย่างพอเพียงในข่วงที่น้ำเค็มเข้าถึง

3.ขุดลอกท้องร่องหรือโกยเลนจากท้องร่องเพื่อนำมา คลุมผิวดินบนอกร่อง รวมทั้งหากาบมะพร้าว ใบกล้วย ฟางข้าว เคษไม้ หญ้าแห้ง มาคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในดินเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำลง

4.เก็บจอกแหน เศษใบไม้ ผลมะพร้าว ที่ร่วงหล่นอยู่ ในน้ำในท้องร่องสวนขึ้นไว้บนอกร่องให้หมด เพื่อปัองกันน้ำใน ท้องร่องเน่าเสีย

5.หมั่นตรวจน้ำในคูคลองส่งน้ำบ่อย ๆ หากมีน้ำจืด เข้าเป็นครั้งคราวให้รีบสูบหรือปล่อยน้ำเข้าสวน เพื่อเก็บกัก น้ำไว้

6.หมั่นตรวจดูน้ำจืดในบริเวณสวนที่เก็บกักไว้เสมอ โดยการชิมดูว่ามีรสกร่อยหรือเค็ม หรือมีสีสรรผิดจากปกติ ที่เป็นอยู่หรือไม่ หากมีแสดงว่าคันดินกั้นน้ำหรือประตูระบายน้ำ รั่วซึม ให้รบทำการซ่อมแซมเสีย

7.หมั่นตรวจดูอาการของส้มโอในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวเฉา ไหม้เกรียม เป็นอาการแรกเริ่มของส้มโอที่ถูกน้ำเค็มหรือน้ำเสีย ให้รีบแก้ไข โดยหาน้ำจืดมารดให้ชุ่มโชก เพื่อลดปริมาณความเค็มหรือ น้ำเสียให้เจือจางลง

ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว
ส้มโอจะเริ่มให้ผลเมื่อประมาญ 4 ปี ในฤดูปกติส้มโอที่ ปลูกในภาคกลางจะเริ่มออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน จน ถึงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะมกราคมถึงกุมภาพันธ์ จะออกดอก มากที่สุด เรียกว่าส้มปี และจะมีออกประปรายในเดือนอื่นๆ เรียกว่า ส้มทะวาย ดอกที่ออกมานี้จะทนและติดเป็นผลแกใช้ เวลาประมาณ 8 เดือน ซึ่งจะเป็นเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเป็นฤดูที่ส้มแก่มากที่สุด แต่ส้มโอพันธุ์ขาวทองดีจะแกช้ากว่า พันธุ์ขาวพวงและขาวแป้นเล็กน้อย คือจะแก่เก็บได้ราวเดือน กันยายนถึงตุลาคมเป็นส่วนมาก ในด้านความดกนั้นพันธุ์ ขาวพวงและขาวแป้นจะดกมาก ต้องทำการปลิดผลทิ้งให้ เหลืออยู่พอดีกับขนาดของต้น


ส้มไอทีปลูกกันในจังหวัดภาคกลางผลผลิตจะเริ่มลดลง เมื่อส้มโออายุประมาณ 10 ปี ขึ้นไป เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินสูง รากส้มถูกจำกัดพื้นที่ ส่วนส้มโอที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ ถ้ามีการ ดูแลรักษาที่ดีสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึงอายุ 15 - 20 ปี
 
การเก็บเกี่ยว
ผลส้มโอที่อยู่ไม่สูงมากนักควรใช้ กรรไกรตัดขั้ว ถ้าเป็นผลที่อยู่สูงควรใช้ที่เก็บเกี่ยวชนิดมีขอ ตัดต่อด้าม และมีเขือกกระคุกพร้อมถุงรองรับ จะช่วยให้ผล ไม่ร่วงหล่นลงดินประโยชน์ของส้มโอ



ส้มโอมีประโยซน์ตั้งแต่เปลีอกใช้เชื่อมเป็นขนมหวาน เช่นหวัดเพชรบุรี ทำเปลือกส้มโอเชื่อมจนเป็นสินค้าพื้นเมือง ไปขายไกลๆ ส่วนเนื้อที่เปรี้ยวใช้ประกอบกับข้าวยำทางภาคใต้ เนื้อหวานอมเปรี้ยวใช้ทำส้มโอลอยแก้ว ส่วนเนื้อหวานใช้ รับประทานเป็นผลไม้สด
 
ประโยชน์ของส้มโอ
ส้มโอมีประโยซน์ตั้งแต่เปลีอกใช้เชื่อมเป็นขนมหวาน เช่นหวัดเพชรบุรี ทำเปลือกส้มโอเชื่อมจนเป็นสินค้าพื้นเมือง ไปขายไกลๆ ส่วนเนื้อที่เปรี้ยวใช้ประกอบกับข้าวยำทางภาคใต้ เนื้อหวานอมเปรี้ยวใช้ทำส้มโอลอยแก้ว ส่วนเนื้อหวานใช้ รับประทานเป็นผลไม้สด
 
การปอกเปลือกส้มโอ
การปอกเปลือกส้มโอที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป มักจะใช้มีดกรีดผลจากขั้วผลลงมา 5-6 รอย แล้วจึงลอกเอา เปลือกออก โดยใช้นิ้วมือสอดไประหว่างเปลือกและกลีบผล วิธีนี้จะทำให้ต่อมน้ำมันที่เปลือกแตกเลอะมือ เมื่อลอกเอาเนื้อ ออก บางส่วนของเนื้อจะติดกับน้ำมันของเปลือกที่ติดมืออยู่ ทำให้มีกลิ่นเหม็นและเสียรสชาติไป จึงขอแนะนำวิธีการ ปอกเปลือกส้มโอให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี ดังนี้


1.ใช้มีดปอกส่วนของเปลือกที่เป็นสีเขียวออกจนหมด

2.ลอกเปลือกสีขาว ซึ่งจะทำให้ลอกออกได้ง่ายและไม่ มีกลิ่นของน้ำมันที่ผิวเปลือกติดออกมา

3.เมื่อเหลือแต่เปลือกหุ้มกลีบ จึงลอกเอาเปลือกหุ้ม ออกทีละกลีบจะได้เนื้อที่เป็นกลีบสวยงามและมีรสชาติดี
 
การป้องกันและกำจัดแมลงศตรูส้มโอ
1. มวนเขียว


ระบาดมากที่สุดในตอนต้นฤดูฝนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ผลส้มร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้นยังเป็นทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียระบาดทั่วไปตามกิ่งและก้านได้อีกการป้องกันกำจัด


1.ใช้สวิงจับตัวแก่มาทำลาย

2.ใช้กำมะถัน 2 กระป๋อง ผสมขี้เลื่อยเฉลี่ย 3-4 ปี๊ป กองไว้ในสวนแล้วจุดไฟเป่าให้มีควันอยู่เสมอจะช่วยป้องกัน และไล่มวนเขียวได้

3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นโมโนใครโตฟอส


--------------------------------------------------------------------------------

2. หนอนชอนใบ


หนอนผีเสื้อชนิดนี้จะทำลายเฉพาะ ใบอ่อน ทำให้ใบงอผิดรปเดิม ใบที่ถูกทำลายจากการเจาะจะมีรอยวกไปเวียนมา ผิวใบจะเป็นฝ้าขาวแห้ง และร่วงหล่น ส่วนใบแก่จะไม่ถูกทำลาย หนอนจะเลือกกินส่วนผิวที่มีสีเขียวของใบอ่อนทำให้ใบหงิกงอ เป็นฝ้าขาวแห้ง จะทำให้การเจริญเติบโต หยุดชงัก บางครั้งจะเกาะกิ่งอ่อนของส้มด้วย นอกจากนี้ยังเป็น ทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลายได้อีก เซ่น ช่วยเป็น พาหนะในการระบาดของโรคขี้กลาก (โรคแดงเกอร์) อีกด้วย

การป้องกันกำจัด

1.ใช้มือจับหนอนทำลาย และตัดใบที่ถูกหนอนทำลายมาเผาไฟทิ้ง ในกรณีที่เป็นสวนส้มขนาดเล็ก

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมีเช่น ใดเมทโซเอท ผสมเฟนวาลีเรท อัตรา 4:1 ฉีดพ่นในระยะที่ส้มแตกใบอ่อนให้ ทั่วถึงตลอดทั้งลำต้นจึงจะได้ผล



--------------------------------------------------------------------------------


3. หนอนผีเสื้อกินใบ

เป็นหนอนผีเสื้อกลางวันชนิดหนึ่งซึ่งวางไข่ไว้ตามใบอ่อนของส้ม หนอนจะกัดกินใบอ่อนจนถึงแกน ทำให้ใบร่วง โดยเฉพาะต้นกล้าจะได้รับความเสียหายมาก นอกจากนี้หนอนยังทำลายพวกกิ่งที่มีผลทำให้ผลร่วงได้ง่ายการป้องกันกำจัด


1.ใช้มือจับหนอนและดักแด้มาทำลายในเมื่อยัง ไม่ระบาดมากนัก

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โมโนใครใตฟอส หรือ เอนโดซัลแฟน หรือ เมทธามิโดฟอส

3.ในสภาพธรรมขาติมีแมลงวันก้นขนเป็นศัตรู ธรรมชาติ ในระยะดักแด้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารเคมี เมื่อต้นส้มไม่มียอดอ่อน และเมื่อพบว่าดักแด้ถูกศัตรูธรรมชาติ เข้าทำลาย



--------------------------------------------------------------------------------



4. ด้วงงวงกัดกินใบ

ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้จะกัดกินใบทำให้ใบแหว่ง หรือเป็นรูพรุน ถ้ามีมากจะกัดกินใบจนเหลือแต่กิ่งการป้องกันกำจัด



1.เขย่ากิ่งเพื่อให้ด้วงล่วงลงมา แล้วนำไปทำลาย

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอส หรือ ดาร์บารีล ฉีดพ่นในระยะที่ส้มโอแตกใบอ่อน



--------------------------------------------------------------------------------



5. ผีเสื้อมวนหวาน

เป็นผีเสื้อกลางคืนที่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ชาวสวนส้มโอเป็นอย่างมากในปีหนึ่ง ๆ โดยการดูดกินน้ำหวานของผลส้มโอที่เริ่มแก่ถึงแก่จัด ผีเสื้อชนิดนี้จะใช้ปากแทงเข้าไปในผลส้มโอ ทำให้บริเวณที่แทงเน่า ต่อมาจะร่วงหล่นไปก่อนกำหนดแก่ ส้มที่ได้รับความเสียหายจากผีเสื้อ ชนิดนี้อาจลังเกตได้จากน้ำที่ไหลออกมาจากรูของผลการป้องกันกำจัด


1.ใช้กับดักไฟฟ้าที่มีกำลังแรงเทียนสูง ล่อให้เข้ามาเล่นไฟ

2.ใช้สวิงจับผีเสื้อ

3.การรมควันหรือใช้ยาพวกไล่แมลง

4.ใช้พวกเหยื่อพิษที่บรรจุขวดหรือกระถางดินเผาแขวนไว้ที่ก้นผลไม้ก่อนที่ผลไม้จะแก่ประมาณ 1 เดือน ต้องคอยเปลี่ยนเหยื่อพิษทุกสัปดาห์

5.ใช้สารเคมีฉีดพ่นในระยะที่กำลังเป็นตัวหนอนอยู่จะช่วยลดความเสียหายลงได้บ้าง

6.ทำกรงดัก โดยใช้ผลไม้สุกเป็นเหยี่อล่อให้ผีเสื้อมวนหวานมาติดกรง


--------------------------------------------------------------------------------


6. หนอนกินลูก

ในระยะที่เป็นหนอน จะชอนไชเข้าไปในผลอ่อน ทำให้ผลเหี่ยวเน่าและร่วงหล่นการป้องกันกำจัด


1.นำก้มที่ถูกทำลายไปฝังหรือเผา

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดาร์บารีล ให้ทั่วเพื่อกำจัดหนอนที่ปักออกจากไข่ใหม่ๆ เมื่อหนอนเจาะเข้าไป ในผลส้มแล้วการกำจัดจะไม่ได้ผลเลย


--------------------------------------------------------------------------------

7. หนอนมวนใบส้ม

หนอนผีเสื้อขนิดนี้จะวางไข่บนใบส้ม ตัวหนอนจะกัดกินใบส้มและม้วนใบทำเป็นรังอาศัยอยู่ซึ่งจะทำให้ส้มมีผลผลิตลดน้อยลง

การป้องกันกำจัด


1.ใช้มือจับหนอนและดักแด้อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนมาทำลาย

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอส


--------------------------------------------------------------------------------


8. หนอนเจาะกิ่งส้ม

หนอนจะเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ตามกิ่งและลำต้นที่ปากรูจะเห็นเป็นขุย ๆ บางครั้งจะทำให้มียางไหลเยิ้มออกมา กิ่งส้มที่ถูกเจาะจะแห้ง ต้นส้มไม่เจริญเติบโตการป้องกันกำจัด


1.ตรวจดูตามกิ่งและลำต้นส้ม ถ้าพบตัวหนอนและตัวแกให้รบทำลาย

2.ในกรณีของกิ่งส้มเล็กที่ถูกทำลายให้ตัดเผาไฟ

3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดคลอร์วาสฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะแล้วเอาดินเหนียวอุดรูไว้

--------------------------------------------------------------------------------

9. เพลี้ยอ่อนสีเขียว


เพลี้ยอ่อนชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ใบนั้นหยิกและงอต้นแคระแกรน การเจริญเติบโตหยุดชงัก เพลี้ยอ่อนจะขับสาร ออกมาจากร่างกายเป็นน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะในการเจริญเติบโตของราดำที่กิ่งและใบอีกด้วยการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท

2.ไข้ยาฉุน 1 กิโลกรัม น้ำ 60 ลิตร สบู่ 180 กรัมแช่ยาฉุนไว้ 1 คืน หรือต้มให้เดือด 1 ชั่วโมงครึ่ง ผสมน้ำและสบู่ตามจำนวนฉีดพ่นให้ถูกตัวเพลี้ยอ่อน


--------------------------------------------------------------------------------

10. ไรแดงส้ม

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรแดงส้มชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ผล และกิ่งอ่อนของต้นส้มซึ่งจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายนั้นเห็นเป็นจุดสีอ่อนๆ ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ ขยายตัวออกไปทั่วจนมีสีเทาหรือสีตะกั่ว ในกรณีที่พบระบาดมากๆ ก็จะทำให้ใบและผลร่วงหล่นได้ และอาจจะทำให้ผลที่ถูกทำลายมีลักษณะแคระแกรนและคุณภาพเสื่อมลงมักระบาดมากในฤดูแล้งการป้องกันกำจัด



1.พ่นด้วยกำมุะถันผงละลายน้ำ อัตรา 4 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ควรพ่นในเวลาเข้าเพื่อป้องกันใบไหม้

2.ฉีดด้วยสารเคมี เช่น โปรปาไจท์

3.ฉีดด้วยน้ำธรรมดาโดยใช้เครื่องฉีดที่มีความดันสูง



--------------------------------------------------------------------------------


11. เพลี้ยแป้งส้ม

เพลี้ยแป้งส้มชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งใบและผลส้ม ซึ่งจะทำให้ผลส้มร่วงก่อนแก่ตามกำหนด และจะเป็นทางทำให้เกิดราดำคลุมทั่วไป ตามกิ่งของต้นการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยยาจำพวก ไวท์ออย ผสมกับ มาลาไธออน

2.กำจัดมดซึ่งเป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง


--------------------------------------------------------------------------------



12. เพลี้ยไฟส้ม

เพลี้ยไฟจะเจาะเข้าไปในผิวใบและดูดกินน้ำเลี้ยงของใบส้ม ผลที่ยังอ่อนเพลี้ยไฟจะเจาะตรงส่วนที่ อยู่ใกล้กับกลีบดอกเมื่อผลโตขึ้นก็จะเจาะบริเวณใกล้เคียงกับขั้วทำให้บริเวณที่ถูกเจาะนั้นมีรอยเป็นสะเก็ดสีเทา ส่วนใบที่ถูก ทำลายนั้นก็จะแคระแกรนและหงิกงอ นอกจากใบและผลแล้วเพลี้ยไฟยังทำลายกิ่งอ่อนและดอกอีกด้วยการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นคัวยยานิโครตินซัลเฟต เข้มข้น 0.05%

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท , คาร์บารีล หรือ ดาร์โบชัลแฟน ในระยะที่ระบาดมาก ๆ ประมาณ 7-10 วัน ต่อครั้ง


--------------------------------------------------------------------------------









โรคยางไหล โรคโคนเน่าและรากเน่า

โรคใบแก้ว โรคแคงเกอร์

โรคแสค๊ป โรคราสีชมพู

โรคจุดสนิม โรคราดำ


--------------------------------------------------------------------------------

1. โรคยางไหล

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่แสดงให้ เห็นคือ มีน้ำเหลวสีน้ำตาลไหลออกมา หรือเกาะติดตามกิ่งและ ลำต้น มีแผลเล็กๆ อยู่ตรงส่วนที่ยางไหลออกมา เริ่มแรกจะ เห็นเป็นจุดวงสีน้ำตาล ต่อมาจุดนี้จะลามออกไปเป็นแผลใหญ่ๆ มีน้ำยางสีน้ำตา.ลไหลออกมามากมายหรือรอบกิ่ง หรือเกาะเหนียวอยู่ตามกิ่งและ ลำต้น ถ้าต้นที่โตแล้วเป็นมากจะสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหลืองเล็กและหลุดร่วงไป ต้นแสดงอาการทรุดโทรม ผลเล็ก ยอดแห้ง ในที่สุดต้นก็จะตายการป้องกันกำจัด



1.ถ้าพบอาการเป็นแผลและยางไหลออกมาให้รีบเฉือนเปลือกไม้ส่วนที่เป็นแผลออกให้หมด ทาแผลรวมทั้งรดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารเคมี เข่น ฟอสเอทธีล อีล

2.อย่าให้น้ำขังหรือท่วมบริเวณต้นส้มโอเป็นเวลานานๆ ควรทำการระบายน้ำอย่าให้ขังหรือชื้นแฉะ

3.ส้มที่ตายแล้วหรือส่วนของส้มที่ตัดทิ้งนำมารวมกันเผาทำลาย


--------------------------------------------------------------------------------



2. โรคโคนเน่าและรากเน่า



โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันกับโรคยางไหลมักจะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน เริ่มจากเปลือกจะเป็นจุดๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่า เปลือกอ่อนหลุดออกมาได้ง่าย ถ้าอากาศชื้นทิ้งไว้ 1 - 2 วัน จะเห็นเส้นใยของราฟูขาวขึ้นมา อาการเน่าจะลุกลาม ออกไป เปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา เมื่อเน่ารอบ โคนต้นส้มจะตาย อาการที่รากจะเป็นเช่นเดียวกับที่โคนต้น ในระยะนี้ใบจะเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้ง และตายในที่สุดการป้องกันกำจัด



การป้องกันกำจัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคยางไหล


--------------------------------------------------------------------------------



3. โรคใบแก้ว



โรคนี้อาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารหรือเชื้อมายโคพลาสมา อย่างใดอย่างหนึ่งจะพบมาก หลังจากที่ต้นส้มโอให้ผลไปแล้ว 2 - 3 ปี ส้มให้ผลดกมากเกินไป อาการที่พบบนใบจะทำให้ใบเล็กลง ใบมีสีเหลือง ใบชี้ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม โดยเฉพาะใบแก่จะแสดงอาการเหลืองเป็นจ้ำ ๆ ก่อนที่ส้มจะปรากฏอาการของโรคบนใบรุนแรงนั้น ส้มจะอยู่ในลักษณะงามเต็มที่ออกดอกมาก ถ้าอาการรุนแรงผลจะร่วงมากผิดปกติ อาการอีกชนิดหนึ่งคือส้มโอให้ผลผลิตสูงโดยตลอดติดต่อกัน 2-3 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เริ่มทรุดโทรมและแห้งตายไปในที่สุดการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท เพื่อป้องกัน แมลงพาหะ ฉีดเมื่อส้มเริ่มแตกใบใหม่

2.อย่าปล่อยให้ต้นติดผลมากจนเกินควร ถ้าออกผลมากควรปลิดทิ้งให้เหลือพอเหมาะกับขนาดของต้น

3.หลังเก็บผลแล้วควรตัดกิ่งและบำรุงดินให้อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะควรไข้ปุ๋ยอินทรีย์ไห้มาก เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตามด้วยปุ๋ยเคมี

4.การปลูกส้มโอทดแทนหรือเริ่มทำสวนส้มใหม่ ๆ ควรแน่ใจว่าใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค

5.เมื่อพบว่าต้นใดเป็นโรคใบแก้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นทิ้ง ถ้าเป็นทั้งต้นให้ขุดไปเผาไฟทำลาย

--------------------------------------------------------------------------------


4. โรคแคงเกอร์

โรคนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดในระยะที่ใบอ่อนและผลที่ยังอ่อน แรก ๆ จะเห็นเป็นจุดใส ๆ ขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มหมุดสีขาวหรือเหลืองอ่อน กระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาจะยายโตขึ้นนูนทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผลจะกลายเป็นสีเหลือง ภายในแผลมีลักษณะขรุขระ ถ้าเป็นมากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่ กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ถ้าเป็นมากทำให้กิ่งตายได้การป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมื่อมีนนอนชอนใบระบาดเพราะหนอนทำให้ใบและกิ่งเป็นแผล เชื้อโรคระบาดเข้าไปได้ เนื่องจากหนอนชอนใบเป็นพาหะ

2.กิ่งที่จะนำไปปลูกใหม่ต้องปราศจากโรค

3.ตัดกิ่งที่เป็นรุนแรงมากไปเผาทำลาย

4.ตัดแต่งกิ่งภายในทรงต้นให้โปร่ง

5.ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรค เช่น สเตรปโตมัยซิน 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ร่วมกับ ยากำจัดหนอชอนใบ


--------------------------------------------------------------------------------



5. โรคแสค๊ป

โรคนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เป็นได้ทุกระยะ อาการจะเป็นแผลนูนๆ กลีน้ำตาลที่ใบหรือที่ด้านใต้ของผลจะเป็นรอยบุ๋ม แผลมักจะติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้ใบบิดเบี้ยว บางทีมียางไหลออกมาการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยการเคมี เข่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์

2.ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย


--------------------------------------------------------------------------------



6. โรคราสีชมพู

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งอาการ เริ่มแรกจะ.ปรากฏภายในเปลือกของกิ่ง จะเป็นจุดช้ำเล็ก ๆ สีน้ำตาล ต่อมาแผลจะรุกรามถึงกันทำให้กิ่งแห้งตาย จะเห็น สีชมพูของราตรงส่วนที่แห้งคล้ายกับเอาปูนแดงไปป้ายไว้ กิ่งที่เป็นโรคจะมีใบเหี่ยวและร่วงการป้องกันกำจัด



1.ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง

2.ถ้าเป็นมากๆ ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

3.ฉีดพ่น ด้วยสารเคมี เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์


--------------------------------------------------------------------------------


7. โรคจุดสนิม

เกิดจากสาหร่ายชนิดหนึ่ง อาการจะพบตามกิ่งใบและผลระบาดมากในฤดูฝนจะเห็นเป็นจุดกลม สีเขียวหรือแดงคล้ายกำมะหยี่ขี้นอยู่บนใบ ขนาดไม่แน่นอน ถ้าเกิดบนกิ่งจะทำให้กิ่งแตก ใบที่อยู่บนกิ่งนั้นจะเขียวซีดกิ่งแห้งตาย บนผลจะทำให้เนื้อเยื่อนูนผิดปกติ ผิวเปลือกแตกออกการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นเดียวกับโรคแสค๊ป

2.ตัด กิ่ง ใบ และผล ที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

--------------------------------------------------------------------------------


8. โรคราดำ

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักพบในสภาพที่มีหมอกลงจัด อากาศชื้นจะมีเชื้อราขึ้นตามใบและผลเป็นสีดำ ถ้าเป็นมากจะคลุมใบไม่ให้ได้รับแสงแดด ต้นส้มจะไม่งามเท่าที่ควร ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลร่วง โดยเฉพาะผลอ่อนการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งเพื่อชะล้างเชื้อราโดยตรง

2.ฉีดพ่นสารเคมีปีองกันเชื้อราเป็นครั้งคราว

3.ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดที่มาเกาะกินใบและถ่ายมูลทิ้งไว้ ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราอย่างดี สารเคมีที่ใช้ เช่นไดเมทโธเอท

แหล่งที่มา :  http://web.ku.ac.th/agri/somo2/so0.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น