วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกลำไย


การปลูกลำไย


ลำไย เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อย เจริญเติบโตได้ดีในเมืองร้อน ปัจจุบันนี้ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นพืชที่น่าสนใจยิ่งของชาวสวน เพราะเป็นผลไม้ที่มีราคาดีและมีคู่แข่งน้อยมากในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ลำไยยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

 

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม



1. ดินและสภาพพื้นที่ ลำไยต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลางดินมีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนเหนียว พื้นที่ดินควรมีความสูงพอสมควร



2. น้ำและความชื้น ในเขตที่ไม่มีการชลประทานต้องการปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมประมาณ 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ถ้าลดลงต่ำมากาจะทำให้ดอกผลแห้งร่วงไป อุณหภูมิต่ำประมาณ 10-12 องศาเซลเซียส เมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลแห้งและแตก



พื้นที่ปลูกลำไยในประเทศไทย



การปลูกลำไยส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 80% ของลำไยปลูกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง นอกจากนี้ก็มีปลูกกันบ้างในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่คุณภาพของลำไยต่ำกว่าในภาคเหนือ



พันธุ์ลำไย



ลำไยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



1. ลำไยเครือ เป็นลำไยที่มีผลเล็ก เมล็ดโต มีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นกำมะถัน มีปลูกทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ



2. ลำไยต้น เป็นลำไยที่รู้จักกันทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


- ลำไยพื้นเมือง (ลำไยกระดูกหรือลำไยผลเล็ก) มีผลเล็กเมล็ดโต เนื้อบาง ให้ผลดก เปลือกลำต้นขรุขระมาก ต้นตรงปัจจุบันนิยมใช้ทำต้นตอ



- ลำไยกระโหลก เป็นลำไยที่นิยมบริโภคกันมาก ปัจจุบันมีพันธ์ใหม่ ๆ มาก พันธุ์ที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่พันธ์ อีดอ แห้ว สีชมพู และเบี้ยวเขียว



พันธุ์ลำไยกระโหลก



1. พันธุ์แดงกลม (อีแดง) ให้ผลดกที่สุด ความสม่ำเสมอในการออกผลดี แต่มีราคาต่ำ เพราะผลเล็ก เมล็ดโต เนื้อบาง แฉะ แตกง่าย เก็บไม่ได้นาน และไม่ต้านทานต่อสภาพน้ำขัง


2. พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์เบา แก่ก่อนพันธุ์อื่น ขายได้ราคาดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลสม่ำเสมอ ไม่เว้นปี ผลผลิตดีพอควร คุณภาพปานกลาง เนื้อไม่ค่อยกรอบ มีกลิ่นคาวเล็กน้อย


3. พันธุ์แห้ว เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการบริโภคดีมาก เนื้อแห้ง สีขาวขุ่นและกรอบที่สุด เปลือกหนา ทนทานต่อการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน แต่มีข้อเสียคือ ออกผลไม่สม่ำเสมอมักเว้นปี มีช่วงการเก็บผลสั้น ก้านแข็งทำให้บรรจุภาชนะยาก ผลเบี้ยวเล็กน้อย จึงปลอมขายเป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ซึ่งราคาดีกว่า แต่ก็เป็นพันธุ์เดียวที่โรงงานต้องการมากเพราะกรอบทน


4. พันธุ์สีชมพู มีคุณภาพการบริโภคดีมาก รสหวานจัดที่สุด เนื้อสีชมพู หนา กรอบ มีกลิ่นหอม ช่อยาว ปีที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีจะให้ผลผลิตสูงมาก มีข้อเสียคือ ค้นไม่ค่อยแข็งแรง ต้องการดินอุดมสมบูรณ์ และการดูแลรักษาดี มีน้ำสม่ำเสมอและความชื้นในอากาศสูงพันธุ์นี้เป็นที่นิยมมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ


5. พันธุ์เบี้ยว (อีเบี้ยว) เป็นพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลาน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ


- เบี้ยวเขียวก้านแข็ง มีเมล็ดและผลโต เนื้อกรอบ เปลือกหนา คล้ายกับพันธุ์แห้ว ผลไม่ดก ออกผลไม่สม่ำเสมอ ก้านช่อสั้น จึงไม่ค่อยนิยมนัก


- เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีคุณภาพในการบริโภคดี กรอบมาก รสหวานจัด ผลโตสม่ำเสมอกัน เปลือกหนา เก็บไว้ได้นาน ช่อยาวให้ผลดกมาก ออกผลล่ากว่าพันธุ์อื่นทำให้มีราคาดี ก้านช่อยาว บรรจุภาชนะได้สะดวก



พันธุ์เบี้ยวเขียวมักถูกปลอมขายโดยใช้พันธุ์แห้วทั้งกิ่งตอนและผล แต่อาจสังเกตความแตกต่างได้บ้างจาก



ก. ช่อผล พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีช่อผลยาว และมีความโน้ม แต่พันธุ์แห้วมีช่อผลสั้นแข็งทื่อและผลไม่สม่ำเสมอ



ข. ผล พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อนจะมีผลเบี้ยวเห็นได้ชัดเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว แต่พันธุ์แห้วมีเปลือกสีน้ำตาลคล้ำปนดำ



ค. ใบ พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีใบบางสีเขียวคล้ำเป็นมันและพลิ้วเล็กน้อย แต่พันธุ์แห้ว แผ่นใบค่อนข้างเรียบ ยาวทื่อ หนา


6. พันธุ์กระโหลกใบดำ (ใบดำ อีดำ) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดกออกผลล่า ช่วงเวลาการเก็บยืดไปได้นาน ช่อผลยาว ขนาดผลสม่ำเสมอบรรจุภาชนะได้สะดวก ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำขัง แฉะ มีข้อเสีย คือ เนื้อค่อนข้างเหนียว ผลไม่โต ผิวไม่สวย



7. พันธุ์ปู่มาตีนโค้ง มีผลสวยมากขนาดใหญ่ที่สุด สีเขียวสวยให้ผลดก แต่คุณภาพเลวมาก รสไมดี และมีกลิ่นคาวจัด (กลิ่นกำมะถัน)



แหล่งพันธุ์ลำไย



ปัจจุบันไม่มีการปลูกลำไยเพื่อขยายพันธุ์โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องติดต่อชื้อกับชาวสวนลำไยทั่วไปโดยอาจติดต่อกับชาวสวนโดยตรง หรือเพื่อความแน่นอนอาจติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหรือเกษตรอำเภอในแหล่งปลูกลำไยนั้น การสั่งกิ่งตอนนั้นในช่วงติดผล ผู้ซื้อควรไปสังเกตดูว่าต้นไหนดก มีคุณภาพดี แล้วกำหนดกิ่งตอนเป็นต้น ๆ ไป ควรสั่งซื้อก่อนฤดูการทำกิ่งตอน และมาดูแลการตัดกิ่งตอนด้วยตนเองก่อน ควรจะซื้อให้มากกว่า ปริมาณที่ต้องการใช้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์







วิธีการปลูกลำไย



ลำไยเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอนเนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือต้นไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง, การทาบกิ่ง และการเสริมราก โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ป้องกันต้นลำไยโค่นล้ม

การขยายพันธุ์ลำไยด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้






การขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบกิ่ง



การปลูกลำไยในปัจจุบันชาวสวนลำไยมักปลูกลำไยด้วยกิ่งตอนจึงทำให้เกิดปัญหาการโค่นล้มเนื่องจากลมพายุ ทั้งนี้เนื่องจากระบบรากของลำไยที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นระบบรากพิเศษ คือ ระบบรากแบบนี้จะแผ่กว้างไปในแนวนอน จากการสังเกตรากของลำไยจะน้อย ประกอบกับลำไยมีทรงพุ่มทึบและกว้างในปีที่ลำไยติดผลมาก ๆ เมื่อเกิดลมพายุจึงมักจะโค่นล้ม พบว่าปีหนึ่ง ๆ ลำไยถูกพายุโค่นล้มเป็นจำนวนมาก วิธีการที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทางหนึ่ง คือการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไยด้วยกิ่งที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน การเสียบกิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

 
การเตรียมต้นตอ



ต้นตอที่จะใช้ในการเสียบกิ่งได้จากการเพาะเมล็ด เมื่อแกะเอาเนื้อออกควรรีบนำไปเพาะทันที หากเก็บเมล็ดไว้นานเมล็ดจะสูญเสียความงอก มีการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดลำไย พบว่าเมล็ดที่แกะออกจากผลแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง พบว่า เพียง 10 วัน เมล็ดลำไยจะไม่งอกเลย ในกรณีที่จะเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ ควรเก็บไว้ทั้งผล โดยแช่ในสารกันราพวกเบนโนมิล ความเข้อมข้น 0.05 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 5 นาที สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วันโดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกถึง 85 เปอร์เซ็นต์ การเพาะอาจเพาะลงในถุงพลาสติกหรือเพาะในกระบะ ฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นตอได้







การเตรียมยอดพันธุ์ดี



ยอดพันธุ์ดีที่ใช้ในการเสียบกิ่งควรมีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับขนาดของต้นตอ ริดใบออกให้เหลือใบไว้ 2-3 ใบรวม มีใบย่อย 2-3 คู่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสียบยอดคือ ช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน




ขั้นตอนการเสียบกิ่ง ใช้วิธีการแบบเสียบลิ่มซึ่งได้ผลถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์


1. ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3-4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว


2. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 1 นิ้ว

3. เผยอรอยผ่าบนต้นตอแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน


4. พันด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นนำไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่นนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 40-50 วัน จึงเปิดถุง


5. นำออกจากถุง เลี้ยงไว้อีก 2 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก




การขยายพันธู์โดยวิธีการตอนกิ่ง



การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ง่าย แต่ที่ขยายพันธุ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้จำนวนต้นในปริมาณที่มากนั้นมีเทคนิคและขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้


1. การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลดี ข้อสำคัญต้นพันธุ์ต้องปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด


2. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง แต่ถ้าเป็นกิ่งนอนก็ใช้ได้ แต่การเกิดรากจะเกิดเฉพาะด้านล่างขนาดความยาวของกิ่งยาวประมาณ 75-100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร


3. ใช้มีดควั่นกิ่งเป็น 2 รอย หรืออาจจะควั่นรอยเดียวจากนั้นให้ใช้คีมปากจิ้งจกบิดโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้มีดกรีดเปลือก ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญจะถูกขูดออกมาด้วย การใช้คีมบิดจะทำให้เกิดความรวดเร็ว


4. หุ้มด้วยดินเหนียว และกาบมะพร้าว และผ้าพลาสติก มัดกระเปราะหัวท้ายด้วยเชือกฟางหรือตอก (หรือหุ้มรอยควั่นด้วยถุงขุยมะพร้าว)


5. ประมาณ 30 วัน รากจะเริ่มออกเมื่อเห็นรากมีสีขาวและมีปริมาณมากจึงค่อยตัดมาชำ
ในการตอนกิ่งเพื่อการค้า มักจะเริ่มทำในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกิ่งตอนชุดนี้จะสามารถนำไปปลูกได้ในกลาง ๆ ฤดูฝนของปีเดียวกัน




การชำกิ่งตอนลำไย มีขั้นตอนดังนี้


1. เลือกกิ่งที่มีรากสีขาว ลังเกตว่ามีปริมาณรากมากพอสมควรจึงทำการตัดกิ่งตอนลงชำควรริกิ่งและใบบางส่วนออกเพื่อลดการคายน้ำ


2. แกะพลาสติกที่หุ้มกระเปราะออก ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้รากขาดได้


3. นำกิ่งตอนลงชำในภาชนะที่บรรจุวัสดุชำ (ชาวสวนมักใช้ตะกร้าไม้ไผ่สาน หรือที่เรียกกันทางเหนือว่า "เป๊าะ") วัสดุชำประกอบด้วยดินผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2:1 วางกิ่งให้ตรง กดดินให้แน่น นำกิ่งที่ชำเสร็จแล้ว ไปเก็บไว้ในที่ร่ม ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้

อย่างไรก็ตามวิธีการใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานเป็นภาชนะปลูกมีข้อเสียคือ ปลวกมักจะเข้าทำลายกัดกินไม้ทำให้ผุง่าย และเมื่อเก็บกิ่งตอนลำไยทิ้งไว้นาน ๆ จะมีรากโผล่ออกจากภาชนะ เมื่อโดนแสงแดดรากอาจได้รับอันตราย มีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในกรณีที่เก็บกิ่งตอนไว้นาน ๆ ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้วเป็นภาชนะชำกิ่ง




การขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่ง



การเตรียมต้นตอ


เลือกต้นตออายุประมาณ 1-2 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-1.0 เซนติเมตร นำต้นตอมาล้างรากและตัดรากบางส่วนออก นำไปจุ่มในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น 8,000-10,000 ส่วนต่อล้าน นาน 5 วินาที (อาจใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 3) หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาด 4x6 นิ้ว พบว่ากิ่งทาบออกรากได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กิ่งไม่ได้ใช้สารออกรากเพียง 65 เปอร์เซ็นต์ นอกขจากนี้มีการทดลองใช้ NAA ความเข้มข้น 2,000 ส่วนต่อล้านสามารถชักนำให้กิ่งทาบ เกิดรากได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์



การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี



เลือกกิ่งกระโดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอความยาวประมาณ 20 นิ้ว ควรเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดด




ขั้นตอนการทาบกิ่ง



1. การเตรียมรอยแผลของต้นตอ โดยเฉือนแผลของต้นตอเป็นรูปลิ่มให้มีความยาวทั้งสองด้านประมาณ 1 นิ้ว

2. การเตรียมรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี เฉือนเฉียงขึ้นให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อยยาวประมาณ 1 นิ้ว


3. นำรอยแผลของต้นตอประกบกับรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน


4. พันด้วยพลาสติกให้แน่น ประมาณ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดราก






การตัดกิ่งทาบชำลงถุง



หลังจากทาบกิ่งได้ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดรากโดยสังเกตว่ารากที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากค่อยตัดกิ่งมาชำลงถุง ก่อนชำควรริดใบออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นแกะถุงพลาสติกที่หุ้มต้นตอออกควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน นำกิ่งทาบชำลงในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุชำ คือ ขี้เถ้าแกลบ:ดิน:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:2:1 นำกิ่งที่ชำเก็บไว้ในที่ร่มรำไร ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อกิ่งทาบตั้งตัวได้ดี ค่อยนำไปปลูกในแปลง โดยให้รอยต่อของกิ่งทาบอยู่เหนือวัสดุปลูก





การเสริมรากลำไย



การเสริมรากก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะได้ระบบรากแก้ว ซึ่งอาจจะได้ระบบรากแก้ว 2-3 รากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของต้นตอที่จะนำไปเสริมราก




วิธีการเสริมราก



1. นำกิ่งตอนพันธุ์ดีลงปลูกในแปลงนำต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.0 เซนติเมตร ไปปลูกรอบ ๆ ต้นของกิ่งตอนอาจใช้ 2-3 ต้น เพื่อเสริม 2-3 ราก



2. การเตรียมรอยแผลของต้นรากและกิ่งตอน ใช้วิธีแบบฝานบวบ คือ เฉือนกิ่งตอนเป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว จำนวนรอยแผลเท่ากับจำนวนของต้นราก เฉือนแผลต้นตอเฉือนเป็นรูปโล่ ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ที่สำคัญอย่าเพิ่งตัดยอดของต้นรากจนกว่ารอยแผลจะเชื่อมกัน



3. นำรอยแผลของต้นรากและกิ่งตอนมาประกบกัน โดยโน้มต้นรากเข้ามาประกบกับรอยแผลของกิ่งตอนจัดเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน พันด้วยเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกพันให้แน่น



4. ประมาณ 45 วัน เมื่อรอยแผลเชื่อมติดกันสนิทให้ตัดยอดต้นรากที่อยู่เหนือรอยแผลออก



วิธีการขยายพันธุ์ดังกล่าวนี้ในอนาคตน่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ









อ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ 50290  โทร. 0-53873938 , 0-53873939
http://www.thaigoodview.com/node/73619
http://locals.in.th/index.php?topic=9874.0

การปลูกมะม่วง


มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ อายุยืนแข็งแรง นอก จากผลของมะม่วงแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากต้นหรือ เนื้อไม้ได้อีกด้วย เช่นการก่อสร้าง การทำฟืน ทำถ่านเป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมะม่วงเป็นพืชที่ชอบ ลักษณะอากาศที่แห้ง แล้งและชุ่มชื้นหรือมีฝนตกสลับกันเป็นช่วง ๆ กล่าวคือ ก่อนที่ต้นมะม่วงจะออกดอกนั้นต้องการอากาศแห้งแล้ง และหนาวเย็นก่อน เมื่อออกดอกแล้วจึงต้องการฝนเพื่อให้ ติดผลอย่างสมบูรณ์ ลักษณะอากาศดังกล่าวเป็นลักษณะโดย ธรรมชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานอยู่ แล้ว ดังนั้นในเรื่องสภาพอากาศนี้จึงไม่เป็นปัญหาแต่ ประการใด แต่ที่จะเป็นปัญหาคือ หลังจากออกดอกแล้ว ถ้าต้น มะม่วงขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหมดไม่ติดผล ทำให้ แมลงบางชนิดระบาดมาก หรือเกิดโรคระบาดที่ช่อดอกทำ ให้ดอกหรือผลอ่อนร่วงหล่นจนหมดต้น ดังนั้นถ้าแหล่ง ปลูกอยู่ใกล้น้ำสามารถให้น้ำช่วยในช่วงเวลาที่ต้อง การ ประกอบกับการใช้วิทยาการใหม่ ๆ ก็สามารถทำให้มะม่วงติด ผลได้ไม่ยากนัก



มะม่วงมีมากมายหลายสิบพันธุ์ อาจแบ่งเป็นได้ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ คือ
1. มะม่วงสำหรับรับประทานผลดิบ เช่น พิมเสนมัน แรด เขียว สวย เป็นต้น

2. มะม่วงสำหรับรับประทานผลสุก เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน เป็นต้น

3. มะม่วงสำหรับดอง เช่น มะม่วงแก้ว เป็นต้น

4. มะม่วงสำหรับบรรจุกระป๋อง เช่น ทำน้ำคั้น มะม่วงแช่อิ่ม เช่น มะม่วงสามปี เป็นต้น


มะม่วงสามารถปลูกได้ทั่วไปและปลูกได้ทุกภาค ของประเทศ แต่จะให้ผลไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน ไปตามสภาพของท้องที่ การปลูกมะม่วงเป็นการ ค้าและปลูกเป็นจำนวนมาก ๆ ควรคำนึงถึงสภาพดิน ฟ้าอากาศที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกมะม่วงคือ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ มะม่วงทั่ว ๆ ไปต้อง การช่วงแล้งก่อนการออกดอก สำหรับในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตรต่อปีและมี ช่วงแล้งคั่นระหว่างช่วงที่ฝนตก อาจกล่าวได้ว่า สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกภาค นอกจากบางท้องที่ที่ มีฝนตกชุกทั้งปี ไม่มีช่วงแล้งคั่นเลย โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะ ที่มะม่วงจะออกดอก ถ้ามีฝนตกหรือความชื้นมาก ยอดที่แตกมาใหม่จะเจริญไปเป็นใบเสียหมด แทน ที่จะเจริญเป็นดอก ในสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกมะม่วงเป็นการค้านอกจาก จะปลูกพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ช่วย เร่งการออกดอก



ในระยะที่มะม่วงแทงช่อ ดอกกำลังบาน ไม่ควรมี ฝนตกเลย หรือมีฝนตกเพียงเล็กน้อย เพราะฝนที่ ตกหนักในช่วงนี้จะทำให้ดอกเสียหาย ฝนจะ ชะละอองเกสรหลุดไปจนหมด ทำให้แมลงต่าง ๆ ไม่ สามารถช่วยผสมเกสรได้ มะม่วงก็จะไม่ติดผล ฝนที่ ตกจะทำให้ความชื้นของอากาศสูง เหมาะแก่การ ระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงซึ่งจะทำลายดอกให้เสียหาย และเกิดเชื้อราดำตามมา ทำให้ดอกและผลอ่อน ร่วงเสียหายได้มากเช่นกัน



2. อุณหภูมิ

ปกติมะม่วงชอบอากาศร้อน และทนต่ออากาศที่ร้อนและ แหห้งแล้งได้ดีไม่ชอบอากาศที่เย็นจัด ถ้าอากาศ เย็นจัดเกินไปต้นมะม่วงอาจตายได้ สำหรับในประเทศ ไทยยังไม่พบว่าเกิดความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิ ร้อนหนาวของอากาศอย่างเด่นชัดนัก จึงสามารถ ปลูกมะม่วงได้ทุกภาค และเป็นที่สังเกตได้ว่า ปีใด อากาศหนาวมาก ปีนั้นมะม่วงจะออกดอกมาก



3. ดิน

มะม่วงปลูกได้ในดินทั่วไป ดินที่มะม่วงชอบคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีธาตุ อาหารอย่างเพียงพอที่สำคัญคือดินปลูกต้องระบาย น้ำดี มะม่วงไม่ชอบดินที่เหนียวจัด จับกันเป็นก้อน แข็งจนน้ำระบายไม่ได้ต้นมะม่วงที่ปลูกในดิน ที่ระบายน้ำไม่ดี หรือที่น้ำขังแฉะจะเติบโตช้า รากไม่ค่อยเจริญ รากดำ และอาจเน่าตายในที่สุด การ ปลูกมะม่วงจึงนิยมปลูกกันในที่สูง ๆ เพื่อให้การ ระบายน้ำดี ส่วนการปลูกในที่ลุ่มควรยกร่อง เช่น เดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น และปรับปรุงดินให้ร่วน ซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ก่อนที่จะ ลงมือปลูก


4. ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน

ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน จะเป็นสิ่ง ที่คอยบังคับการเจริญเติบโตของรากมะม่วงและ ต้นมะม่วง ถ้าระดับความลึกของหน้าดินน้อย มีดิน ดานอยู่ข้างล่างหรือดินปลูกมีระดับน้ำในดินตื้น รากมะม่วงก็ไม่สามารถหหยั่งลึกลงไปในดินได้แต่ จะแผ่ขยายอยู่ในระดับตื้น ๆ ทำให้ต้นมะม่วงไม่ เติบโตเท่าที่ควร ต้นมีอายุไม่ค่อยยืนและโค่น ล้มได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากต้นมะม่วงที่ปลูกใน ที่ดอนจะมีอายุอยู่ได้นานและต้นใหญ่โต มาก ส่วนการปลูกในที่ลุ่ม อายุของต้นมักไม่ค่อยยืน และเติบโตช้ากว่าการปลูกแบบอื่น



5. ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

มะม่วงไม่ชอบดินที่เป็นด่างมากหรือดินที่มี หินปูนมาก ดินที่เป็นด่างจะทำให้มะม่วงเติบโต ช้า โดยเฉพาะต้นอ่อนจะตายง่าย ดินที่เหมาะสำหรับ มะม่วงคือดินที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง (pH. 6.5-7.5)



6. น้ำ

ถึงแม้มะม่วงจะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่น้ำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะม่วงเช่นกัน หากมี น้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงอย่างเพียงพอ จะช่วย ให้ต้นมะม่วงเติบโตเร็ว แข็งแรง ไม่ชะงักการเติบโต โดยเฉพาะระยะที่มะม่วงกำลังติดผลเล็ก ๆ ถ้ามีน้ำ ให้อย่างเพียงพอจะทำให้ติดผลได้มาก ผลมัก ไม่ร่วง การปลูกมะม่วงจึงควรมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ ๆ การ พึ่งแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียวววย่อมไม่ได้ผลเท่า ที่ควร


7. ลม

ปัญหาอีกประการหนึ่งของการปลูกมะม่วงก็คือ ผล มะม่วงร่วงหล่นเพราะลมแรง ทั้งนี้เนื่องจากเพราะก้าน ผลมะม่วงยาวและแกว่งไกวได้เมื่อลมพัด ทำให้ ผลกระทบกระแทกกันร่วงหล่นมาก บางแห่งผลมะม่วง อาจร่วงหล่นเพราะเหตุนี้เกินกว่าครึ่1. การเตรียมดิน


1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่าง ๆ ต้องยกร่องเสียก่อนเช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องนั้นแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ หลังร่องยิ่งยกได้สูงมากยิ่งดี รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้วให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดย การขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรด ของดินและทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะม่วงไม่ชอบดินที่จับตัวกันแน่น การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกแบบยกร่อง เพราะดินตามที่ราบลุ่มมักจะเป็นดินเหนียวจัด การขุดยกร่องใหม่ในปีแรก ดินอาจยังไม่ร่วนซุยดีพอ ให้ปลูกพืชผักอย่างอื่นสัก 1-2 ปี จนเห็นว่าดินร่วนซุยดีพอแล้วจึงลงมือปลูกมะม่วงซึ่งจะได้ผลดี และไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่า มีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยอยู่แล้ว อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเ ล็กน้อย ก็ลงมือปลูกได้เลย

1.2 ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า หรือที่ที่เคยเป็นไร่เก่า ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเตรียมที่ปลูก ถ้ามีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ให้โค่นถางออกให้หมด เหลือไว้ตามริม ๆ ไร่เพื่อใช้เป็นไม้กันลม แต่ถ้าบริเวณนั้นมีลมแรงอยู่เป็นประจำก็ ไม่ควรโค่นไม้ใหญ่ออกขนหมด ให้เหลือไว้เป็นระยะ ๆ จะใช้กันลมได้ดี เมื่อปราบที่เรียบร้อยแล้ว ให้ปรับปรุงดินโดยไถพรวนพ ลิกดินสัก 1-2 สัก หรือจะกำจัดวัชพืชแล้วลงมือขุดหลุมปลูกเลยก็ได้ ถ้าดินที่ปลูกนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงดินอีก ส่วนที่เป็นทรายจัด มีอินทรีย์วัตถุน้อย ให้ปรับปรุงดินให้ดีเสียก่อนลงมือปลูก โดยการหาปุ๋ยคอก ปุ๋ ยหมัก เพิ่มเติมลงในดิน วัสดุที่พอหาได้ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ต่าง ๆ กระดูกป่น กากถั่ว เปลือกถั่ว เศษใบไม้ใบหญ้าที่ผุพังล้วนแ ต่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืชที่ปลูกทั้งสิ้น ควรหามาเพิ่มลงในดินให้มาก ๆ นอกจากนี้การปรับปรุงดินอาจใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้ วิธีทำก็คือปลูกพืชพวกตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือปอเทือง แล้วไถกลบลงในดินให้ผุพังเป็นประโยชน์ต่อดิน การปรับปรุงด ินด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวจะช่วยให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี ทำให้ดินอุ้มน้ำดี เหมาะต่อการเจริญเติบโตข องต้นมะม่วง

ส่วนการปลูกจำนวนเล็กน้อยตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย มีข้อที่ควรคำนึงอยู่สองประการคือ ความลึกของระดับน้ำในดิน และความแน่นทึบของดิน ที่บางแห่งระดับน้ำในดินตื้น เมื่อขุดลงไปเพียงเล็กน้อยน้ำก็จะซึมเข้ามา เวลาจะปลูกมะม่วงควรยกระดับดิน ให้สูงขึ้น เพราะระดับน้ำจะเป็นตัวคอยบังคับการเจริญเติบโตของราก เมื่อรากเจริญไปถึงระดับน้ำแล้วจะไม่สามารถเติบโตลึกลงไปได้อีก แต่จะแผ่ขยายออกด้านข้าง ทำให้รากของมะม่วงอยู่ตื้นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เป็นผลให้ต้นมะม่วงโต ช้า แคระแกร็นและโค่นล้มง่าย

สำหรับเรื่องความแน่นทึบของดินนั้น ตามปกติเวลาถมที่เพื่อปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ก็มักจะถมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เพื่อไม่ให้ดินทรุดในภายหลัง ดินที่แน่นทึบนี้ ไม่เหมาะต่อการปลูกมะม่วงหรือไม้ยืนต้นต่าง ๆ เลย เพราะรากไม่สามารถเจ ริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศของดินไม่ดี ทำให้ต้นมะม่วงโตช้าและแคระแกร็น การแก้ไขทำได ้โดย ขุดหลุมปลูกให้กว้าง ๆ และลึก ตากดินที่ขุดขึ้นมาจนแห้งสนิท ย่อยให้เป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักให้มาก ๆ ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักลงไปในก้นหลุมด้วย เสร็จแล้วจึงกลบดินลงหลุมรดน้ำให้ยุบตัวดีเสียก่อน จึงลงมือปลูก

2. การขุดหลุมปลูก

2.1 การขุดหลุมปลูกทั้งแบบปลูกบนร่องและปลูกในที่ดอน ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการ ปฏิบัติงาน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก ก็ ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 15-20 วัน แล้วผสม ดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ก้นหลุมก็ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองพื้นไว้ด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอา ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดินชั้นล่างกลบทับลงไปทีหลัง ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินย ุบตัวดีเสียก่อน หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก

2.2 ระยะปลูก ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่

1.) ระยะปลูกแบบถี่ เช่น 2.5 x 2.5 เมตร, 4 x 4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม

2.) ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8 x 8 เมตร, 10 x 10 เมตรหรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม



3. วิธีปลูก

การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำ ให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินจะจับตัวกันแข็งและรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว

3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้น แตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป

3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิมหรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควร กลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้ปักไม้เป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ต้นที่นำมาปลูก ถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดี คือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในระยะที่ต้นยังเ ล็กอยู่นี้ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุด เพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรก ๆ อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก ่อนจะหมดฝน และสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย ส่วนที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก

3.3 การปลูกพืชแซม ต้นมะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งติดตา หรือต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จึงจะให้ผล ส่วนการปลูกด้วยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 4-6 ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ต้นยังไม่ให้ผลนี้ ถ้าปลูกแบบระยะต้นห่าง ๆ กัน จะมีที่ว่าง เหลืออยู่มาก ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ หรือพืชที่ค่อนข้างถาวรแซมเป็นการหารายได้ไปพลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยให้ที่ ดินว่างเปล่า นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย พืชที่ควรปลูกแซมระหว่างที่ต้นมะม่วงยั งเล็กอยู่คือ พวกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ซึ่งเป็นพืชช่วยบำรุงดิน เมื่อเก็บถั่วแล้วขุดสับลงดินเพื่อเป็นประโยชน์แก่ดินและพืชต่อไป ส่วนพืชที่ไม่ควรปลูกแซมคือ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น เพราะเป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว

การปลูกพืชแซมอีกวิธีหนึ่งซึ่งนิยมกันในการปลูกไม้ผลทั่วไปคือ ปลูกกล้วยลงไปก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกมะม่วงตามลงไป ต้นกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาไม่ให้ต้นมะม่วงโดนแดดจัดเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยให้ต้นมะม่วงโตเร็ว และประหยัดการให้น้ำด้วย จนเมื่อเห็นว่าต้นมะม่วงโตมากแล้วและโดนต้นกล้วยบังร่มเงา ก็ทยอยขุดต้นกล้วยออก โดยขุดต้นกล้วยที่อยู่ใกล้ ๆ ต้นมะม่วงออกก่อน จนกว่าต้นกล้วยจะหมดไป และต้นมะม่วงโตขึ้นมาแทนที่ต้นกล้วยที่ตัดหรือขุดรื้อทิ้งนั้น ให้ผ่าเป็นสองซีกใช้เป็นวัตถุคลุมดินได้ดี ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น และช่วยรักษาความชื้นของดิน การปลูกต้นกล้ วยแซมนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องเสียแรงงานมากในการขุดรื้อต้นกล้วยออก



การให้น้ำแบบร่องสำหรับสวนมะม่วงที่มีการปลูกพืชแซม การใช้หม้อดินเผาฝังดินให้น้ำซึม
มะม่วงสามารถปลูกได้ทั่วไปและปลูกได้ทุกภาค ของประเทศ แต่จะให้ผลไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน ไปตามสภาพของท้องที่ การปลูกมะม่วงเป็นการ ค้าและปลูกเป็นจำนวนมาก ๆ ควรคำนึงถึงสภาพดิน ฟ้าอากาศที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกมะม่วงคือ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ มะม่วงทั่ว ๆ ไปต้อง การช่วงแล้งก่อนการออกดอก สำหรับในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตรต่อปีและมี ช่วงแล้งคั่นระหว่างช่วงที่ฝนตก อาจกล่าวได้ว่า สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกภาค นอกจากบางท้องที่ที่ มีฝนตกชุกทั้งปี ไม่มีช่วงแล้งคั่นเลย โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะ ที่มะม่วงจะออกดอก ถ้ามีฝนตกหรือความชื้นมาก ยอดที่แตกมาใหม่จะเจริญไปเป็นใบเสียหมด แทน ที่จะเจริญเป็นดอก ในสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกมะม่วงเป็นการค้านอกจาก จะปลูกพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ช่วย เร่งการออกดอก

ในระยะที่มะม่วงแทงช่อ ดอกกำลังบาน ไม่ควรมี ฝนตกเลย หรือมีฝนตกเพียงเล็กน้อย เพราะฝนที่ ตกหนักในช่วงนี้จะทำให้ดอกเสียหาย ฝนจะ ชะละอองเกสรหลุดไปจนหมด ทำให้แมลงต่าง ๆ ไม่ สามารถช่วยผสมเกสรได้ มะม่วงก็จะไม่ติดผล ฝนที่ ตกจะทำให้ความชื้นของอากาศสูง เหมาะแก่การ ระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงซึ่งจะทำลายดอกให้เสียหาย และเกิดเชื้อราดำตามมา ทำให้ดอกและผลอ่อน ร่วงเสียหายได้มากเช่นกัน

2. อุณหภูมิ

ปกติมะม่วงชอบอากาศร้อน และทนต่ออากาศที่ร้อนและ แหห้งแล้งได้ดีไม่ชอบอากาศที่เย็นจัด ถ้าอากาศ เย็นจัดเกินไปต้นมะม่วงอาจตายได้ สำหรับในประเทศ ไทยยังไม่พบว่าเกิดความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิ ร้อนหนาวของอากาศอย่างเด่นชัดนัก จึงสามารถ ปลูกมะม่วงได้ทุกภาค และเป็นที่สังเกตได้ว่า ปีใด อากาศหนาวมาก ปีนั้นมะม่วงจะออกดอกมาก

3. ดิน

มะม่วงปลูกได้ในดินทั่วไป ดินที่มะม่วงชอบคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีธาตุ อาหารอย่างเพียงพอที่สำคัญคือดินปลูกต้องระบาย น้ำดี มะม่วงไม่ชอบดินที่เหนียวจัด จับกันเป็นก้อน แข็งจนน้ำระบายไม่ได้ต้นมะม่วงที่ปลูกในดิน ที่ระบายน้ำไม่ดี หรือที่น้ำขังแฉะจะเติบโตช้า รากไม่ค่อยเจริญ รากดำ และอาจเน่าตายในที่สุด การ ปลูกมะม่วงจึงนิยมปลูกกันในที่สูง ๆ เพื่อให้การ ระบายน้ำดี ส่วนการปลูกในที่ลุ่มควรยกร่อง เช่น เดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น และปรับปรุงดินให้ร่วน ซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ก่อนที่จะ ลงมือปลูก

4. ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน

ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน จะเป็นสิ่ง ที่คอยบังคับการเจริญเติบโตของรากมะม่วงและ ต้นมะม่วง ถ้าระดับความลึกของหน้าดินน้อย มีดิน ดานอยู่ข้างล่างหรือดินปลูกมีระดับน้ำในดินตื้น รากมะม่วงก็ไม่สามารถหหยั่งลึกลงไปในดินได้แต่ จะแผ่ขยายอยู่ในระดับตื้น ๆ ทำให้ต้นมะม่วงไม่ เติบโตเท่าที่ควร ต้นมีอายุไม่ค่อยยืนและโค่น ล้มได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากต้นมะม่วงที่ปลูกใน ที่ดอนจะมีอายุอยู่ได้นานและต้นใหญ่โต มาก ส่วนการปลูกในที่ลุ่ม อายุของต้นมักไม่ค่อยยืน และเติบโตช้ากว่าการปลูกแบบอื่น

5. ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

มะม่วงไม่ชอบดินที่เป็นด่างมากหรือดินที่มี หินปูนมาก ดินที่เป็นด่างจะทำให้มะม่วงเติบโต ช้า โดยเฉพาะต้นอ่อนจะตายง่าย ดินที่เหมาะสำหรับ มะม่วงคือดินที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง (pH. 6.5-7.5)

6. น้ำ

ถึงแม้มะม่วงจะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่น้ำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะม่วงเช่นกัน หากมี น้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงอย่างเพียงพอ จะช่วย ให้ต้นมะม่วงเติบโตเร็ว แข็งแรง ไม่ชะงักการเติบโต โดยเฉพาะระยะที่มะม่วงกำลังติดผลเล็ก ๆ ถ้ามีน้ำ ให้อย่างเพียงพอจะทำให้ติดผลได้มาก ผลมัก ไม่ร่วง การปลูกมะม่วงจึงควรมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ ๆ การ พึ่งแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ได้ผลเท่า ที่ควร

7. ลม

ปัญหาอีกประการหนึ่งของการปลูกมะม่วงก็คือ ผล มะม่วงร่วงหล่นเพราะลมแรง ทั้งนี้เนื่องจากเพราะก้าน ผลมะม่วงยาวและแกว่งไกวได้เมื่อลมพัด ทำให้ ผลกระทบกระแทกกันร่วงหล่นมาก บางแห่งผลมะม่วง อาจร่วงหล่นเพราะเหตุนี้เกินกว่าครึ่ง



1. การให้น้ำ

หลังจากการปลูกใหม่ ๆ ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน และค่อย ๆ ห่างขึ้น เช่น 3-4 วันต่อครั้ง จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้ การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วงเพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้อง การ จะช่วยให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ได้ผลเร็วขึ้น การปลูกมะม่วงในที่ที่น้ำไม่ อุดมสมบูรณ์ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี ให้ต้นกล้ามะม่วงได้รับน้ำฝนนานที่สุด เพื่อต้นจะได้ตั้งตัวได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง หรือการปลูกต้นกล้วยก่อน แล้วจึงปลูกมะม่วงตามลงไปดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดการให้น้ำได้มาก

2. การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชต้องทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่าง ๆ จะคอยแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะม่วง และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุกรังจะกลาย เป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกำจัดวัชพืช ทำได้หลายวิธี เช่น การถางด้วยจอบ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สารเคมี และการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่าง ๆ เป็นต้น การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมขอ งแต่ละราย เช่น ถ้ามีแรงงานเพียงพอควรปลูกพืชแซมแล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อย ๆ หรือใช้วิธีไถพรวนดิน กำจัดหญ้าอยู่เสมอ แต่ถ้ามีแรงงานไม่พอควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้หลายปี

3. การใส่ปุ๋ย

มะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นพวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อปร ับปรุงดินให้ร่วนซุยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้งคือ ต้นฝนและปลายฝน ปุ๋ยอิ นทรีย์นี้แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่น ๆ นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้น แล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

3.1 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อน ข้างขาดธาตุอาหารจึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง จะทำให้ต้นโตเร็ว สมบูรณ์ ให้ดอกให้ผลได้มากและสม่ำเสมอ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจ ให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้า โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมซัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บ รดที่ต้นกล้าเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว แข็งแรงสามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็ว และเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง การใช้ปุ๋ยฟฟแสเฟตหรือกระดูกป่นใส่รองก้น หลุมก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตดี ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้ว แต่ยังไม่ให้ผล อาจใช้ปุ๋ยวิท ยาศาสตร์สูตร 4-7-5 หรือ 4-9-3 ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเป็นสูตร ที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเสียก่อนเพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ไม่เกิดการสูญเปล่า เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของแต่ละท้องที่ย่อมไม่เหมือนกัน อีกประการหนึ่งต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกล ๆ ถ้าดินนั้นเป็นดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้วก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้ การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักอยู่เสมอก็เพียงพอ

3.2 วิธีใส่ปุ๋ย เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ควรใช้วิธีขุดพรวนรอบ ๆ ต้นแล้วหว่านปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จากนั้นจึงหว่านปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตามลงไปแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในต้นที่โตแล้วอาจใช้วิธีขุดเป็นรางดินรอบต้นภายในรัศมีของทรงพุ่ม ขุดรางดินให้ล ึกประมาณ 6 นิ้ว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักลงไปในรางตามด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนภายในบริเวณทรงพุ่มให้ขุดพรวนเพียงเล็กน้อยแล้วหว่านปุ๋ยเช่นเดียวกัน

4.การออกดอกของมะม่วง

มะม่วงจะเริ่มออกดอกในราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ (ยกเว้นพวกมะม่วงทะวาย) การออกดอกของมะม่วงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์มะม่วง ความอุดมสมบูรณ์ของต้น และยังเกี่ยวข้องกับสภาพของอากาศอีกด้วย โดยจะเห็นว่า ถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นมาก มะม่วงจะออกดอกมาก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ผู้ปลูกควรได้คำนึงด้วย เพราะจะทำให้การปลูกมะม่วงได้ผลอย่างเต็มที่ กล่าวคือ ควรเลือกพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกง่าย สามารถออกดอกได้ทุกปีไม่มีเว้น รวมทั้งการบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่าง หนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเรื่องการบำรุงต้นมะม่วงหลังจากเก็บผลแล้ว เมื่อต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ก็จะสามารถออกดอกได้ง่ายกว่าต้นที่ไม่ค่อยสมบูรณ์


5.การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากในปัจจุบันก็คือการใช้สารพาโคลบิวทราโซล (ชื่อการค้ าคือ คัลทาร์ ) โดยราดสารนี้ลงในดินรอบ ๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อนกล่าวคือหลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็ มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สาร คือช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสารควรตรวจดูให้ดินมีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้ว ให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได ้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 2 เดือน ถึง 2 1/2 เดือน มะม่วงจะออกดอก (พวกออกดอกไม่ยากนัก) ส่วนพวกที่ไม่ออกดอกภายใน 2 ฝ เดือน อาจใช้สารกระต ุ้นการแตกตาช่วย เช่น ใช้โปรแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5 % หรือ ไทโอยูเรีย 0.5 % พ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซล เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม อัตราการใช้สาร ต่อตัน *

2-3 เมตร

3-4 เมตร

4-5 เมตร

5-6 เมตร

6-10 เมตร 20-30 มิลลิลิตร

30-40 มิลลิเมตร

40-60 มิลลิเมตร

60-100 มิลลิเมตร

100-200 มิลลิเมตร

* อัตราการใช้นี้คิดจากผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่มีเนื้อสารพาโคลบิวทราโซล 10 % เช่น คัลทาร์


6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล ให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ

มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากมาย แต่จะติดเป็นผลเพียงไม่กี่ผลต่อช่อเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลายประการเช่น ลักษณะของดอกมะม่วงซึ่งดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเจริญเป็นผลได้ และปัญหาที่จะพบอยู่เสมอคือ การเกิดราดำที่ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่นเสียเป็นส่วนมากหรือหมดทั้งต้น ทั้งนี้เพราะว่าที่ดอกมะม่วงจะมีต่อมน้ำหวานทำให้แมลง ต่าง ๆ มาดูดกิน โดยเฉพาะพวกเพลี้ยจั๊กจั่น ซึ่งระบาดมากในช่วงมะม่วงหล่นแล้ว ยังถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของราดำอีกด้วย ทำให้ราดำซึ่งมีอยู่แล้วตามใบและในอากาศเจริญอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่มะม่วงออกดอกนี้ อากาศมักจะหนาวเย็นและมีหมอกมากในตอ นเช้า เมื่อหมอกจับตัวเป็นละอองน้ำตามช่อดอกและใบ ราดำก็จะเจริญได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดอกร่วงหล่นจนหมด จนกลายเป็นควา มเชื่อว่า ถ้าปีใดมีหมอกจัดในระยะที่ดอกมะม่วงบาน ปีนั้นมะม่วงจะติดผลน้อย เพราะน้ำค้างเค็ม ทำให้ดอกร่วง ซึ่งความจริงแ ล้วน้ำค้างไม่ได้เค็ม แต่เป็นเพราะราดำและเพลี้ยจั๊กจั่นดังกล่าว





การปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมากควรทำดังนี้ คือ

1. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้วควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ และถ้าให้ปุ๋ยด้วยจะดียิ่งขึ้น เพราะช่วยให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์ได้รับอาหารมากขึ้น จะช่วยให้ติดผลได้ดี การรดน้ำในช่วงนี้ควรรดแต่น้อยก่อนแล้วจึง มากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ

2. การพ่นยากำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง ครั้งแรกให้พ่นระยะที่ดอกยังตูม และครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่ วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยเพื่อกำจัดราดำ ถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ

3. ถ้าไม่พ่นยากำจัดแมลง อาจช่วยให้มะม่วงติดผลได้โดยการพ่นน้ำเปล่า ๆ ในระยะที่ดอกมะม่วงบานและติดเป็นผลอ่อน การพ่นน้ำเปล่า ๆ ไปที่ใบและช่อดอกจะช่วยล้างเอามูลของเพลี้ยจั๊กจั่นออก ทำให้ใบและช่อดอกสะอาด ราดำไม่รบกวน

ยาฆ่าแมลงที่ใช้กำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นได้ดีคือ เซพวิน 85% ใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือดีลดริน 25% อัตรา 5-6 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ นอกจากนี้ยังมียาฆ่าแมลงที่ใช้กับเพลี้ยจั๊กจั่นได้ผลดี ไม่เป็นอันตรายต่อคน และสามารถทำเองได้ ได้แก่ โล่ติ้น หรือหางไหล และยาฉุน

วิธีเตรียมโล่ติ้น ใช้โล่ติ้น 1 กิโลกรัม ทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 ปี๊บ ไว้หนึ่งคืน แล้วกรองให้สะอาด เติมน้ำเปล่าลงไปอีก 19 ปี๊บ ใช้ฉีดฆ่าแมลง ได้ดี

วิธีเตรียมยาฉุน ใช้ยาฉุน 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 2 ลิตร นาน 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาแต่น้ำกรองให้สะอาด เติมน้ำอีก 3 ปี๊บ ถ้าใส่สบู่ซัลไลท์ลงไปด้วยสักก้อนต่อน้ำยาทุก 4 ปี๊บ จะยิ่งได้ผลในการฆ่าแมลงมากขึ้น

________________________________________




อ้างอิง

http://www.phtnet.org/postech/web/mango/pages/grow/grow_01.htm

http://ubr.ac.th/media/digital_library/agri/mango2/plant2.html

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ



เศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กันต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไปชั่วกาลนาน

ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้

- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
- หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรง

หลักการพึ่งตนเอง อาจจะแยกแยะโดยยึดหลักสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ

1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประณีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง เป็นอิสระ

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน

4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดีเราต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและ เลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง

5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

ได้มีพระราชกระแสด้วยว่า “...หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันทำสัก 1/4 ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤติได้...”



นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 ที่ผ่านมา ได้พระราชทานพระราชดำรัสเพิ่มเติมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

“...คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอใช้สำหรับใช้ของตัวเอง มีความหมายว่าพอมีพอกิน...พอมีพอกินนี้ ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”

“...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำสมควรที่จะปฏิบัติ...”

“...Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...”

“...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

ปัญหาที่ถาโถมสู่ไทยอย่างรวดเร็ว
1. ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดภาวะผันผวนอย่างรุนแรง ทำให้การลงทุนสะดุดหยุดชะงัก เกิดภาวะว่างงานขึ้นทั่วประเทศอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านคน

2. แผนพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมา มุ่งเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เป็นหลักสำคัญ จึงทุ่มเทขยายการผลิตไปในด้านอุตสาหกรรมมากกว่าด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการผลิตที่เน้นวัฒนธรรมประจำชาติมาแต่ครั้งอดีต

3. ไทยตกอยู่ภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทำให้คนไทยหลงกระแส เกิดความเชื่อว่า ของสากล หรือของฝรั่งเป็นของดี จนหลงลืมพื้นฐาน ทุนสังคม สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตไทยของตนเอง มุ่งเข้าเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ตลอดจนเปิดเสรีตามแฟชั่น โดยเฉพาะด้านการเงินการคลัง โดยปราศจากความพร้อมใด ๆ ไม่ว่าด้านบริหาร ด้านกฎหมาย ฯลฯ และปราศจากความเข้าใจในสาระที่เป็นหลักสำคัญของเรื่องต่างๆ ในสังคม เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสภาวะ “หลง-โลภ-โง่-โกง-กัด” เกิดขึ้นในสังคม และครอบงำชีวิตประจำวันของคนไทย

4. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นครั้งนี้ รุนแรงและรวดเร็วเกินกว่าที่ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจะตั้งรับได้ทัน และมิได้มีแผนรองรับการล้มระเนระนาดทางเศรษฐกิจ ในลักษณะเช่นนี้มาก่อน

5. ทิศทางของการดำรงชีพอยู่อย่างประคองตัว เพื่อลุกขึ้นยืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเอง ด้วยวิธีการแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง” (Relative Self-Sufficient Economy) จึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่ประชาชนคนไทยทั้งมวลควรน้อมเกล้า ฯ ไว้ปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้รอดพ้นจากภัยหายนะทางเศรษฐกิจครั้งนี้อย่างปลอดภัย

6. เมื่อค้นพบการดำรงชีพ “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” แล้วควรมุ่งสู่มาตรฐาน “พออยู่ พอกิน” ตามพระราชดำริด้วยจึงจะพัฒนาและพึ่งตนเองได้เพิ่มขึ้นในอนาคต

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า “...ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...”

2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า “...ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ชอบเป็นหลักสำคัญ...”
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...”

4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า “...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง...”

5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาท ว่า “...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลดพยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...”



แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินจะช่วยแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมของไทยในขณะนี้ได้อย่างไร

ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในขณะนี้ คือ จะต้องช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรและที่กลับคืนสู่ภาคเกษตรมีงานทำ มีรายได้ ในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างรากฐานของชนบทให้แข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ

• ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย

• ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ฯลฯ

• ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ
ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการ ในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล

นัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำหรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ

ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้วเกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึง รายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป

กล่าวโดยสรุป คือ แนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่มีสาระสำคัญดังกล่าวข้างต้นนั้น น่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่ผลกระทบต่าง ๆ จะไม่รุนแรงมากนักถ้าหากทุกภาคส่วนของสังคมมีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักความพอดีกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นประการสำคัญ ถึงแม้ว่าข้อคิดทั้งหมดจะมุ่งเน้นไปสู่กลุ่มเกษตรกร หรือผู้มีที่ดินทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องกลับไปสู่ภาคเกษตรหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง สำหรับคนอยู่นอกภาคการเกษตรนั้น เศรษฐกิจพอเพียงก็จะต้องถูกนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นแนวปฏิบัติตน ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรม อาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทย อยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต จำเริญเติบโต อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนัน ซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไปสู่ความล้มละลายในที่สุด ตั้งอยู่บนหลักของ “รู้รักสามัคคี” ใช้สติปัญญาปกป้องตนเองไม่ให้หลงกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยไม่รู้ถึงเหตุและผลตาม สภาพแวดล้อมของไทย ให้รู้จัก แยกแยะสิ่งดี สิ่งเลว สิ่งที่เป็นประโยชน์ ตามสภาพความเป็นจริงของบ้านเมืองของเราเป็นที่ตั้ง ให้มีความรัก ความเมตตา ที่จะช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และรวมพลังกันด้วยความสามัคคีเป็นหมู่เหล่า ขจัดข้อขัดแย้งไปสู่ความประนีประนอม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
 
เศรฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตในความพอดี มีชีวิตใหม่

คือ หวนกลับมาใช้วิถีชีวิตไทย

จะทำให้ชาติบ้านเมืองและตัวเราหลุดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขในที่สุด
 
อ้างอิงจาก http://www.rdpb.go.th/thai/concept/ecot.html