วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การปลูกลิ้นจี่

การปลูกลิ้นจี่




โดย เล็ก ชาตเจริญ
แหล่งกำเนิดและแหล่งปลูก
ลิ้นจี่เป็นไม้กึ่งเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของจีนและกล่าวกันว่ามีการปลูกลิ้นจี่ในประเทศจีนมากกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาลิ้นจี่ได้แพร่ขยายตัวออกไปยังประเทศต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น อินเดีย พม่า ลังกา ไต้หวัน ออสเตรเลีย อาฟริกาใต้ ฮาวาย ฟลอริด้า ญี่ปุ่นตอนใต้ ควีนสแลนด์ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ปราซิล เวียตนาม เขมร และไทย

สำหรับประเทศไทย ไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการปลูกลิ้นจี่เมื่อไรแต่มีการเขียนถึงลิ้นจี่ในหนังสือของชาวฝรั่งเศสในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2397 เป็นเวลา 129 ปีมาแล้ว แสดงว่าลิ้นจี่มีการปลูกมาก่อนนั้นประมาณว่าราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์
ความจริงลิ้นจี่ป่าที่ขึ้นอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น ระยอง จันทบุรี ตราด ที่รู้จักกันในนามสีระมัน ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษาเขมรว่า ตระเสรเมือน ซึ่งแปลว่าลูกหงอนไก่ และในป่าภาคเหนือมีต้นคอแลนหรือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก หมากแงว มีลักษณะคล้ายคลึงกับลิ้นจี่ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไป จึงอาจกล่าวได้ว่าภาคเหนือของประเทศไทยสามารถปลูกลิ้นจี่ได้ถ้าหากได้รับการคัดเลือกพื้นที่ ดิน อากาศ และการปฎิบัติที่เหมาะสม
ลิ้นจี่ ที่ปลูกกันในประเทศไทย ที่นับว่าเก่าแก่ที่สุด ดูจะอยู่ทางตำบลโพงพาง เขตยานนาวา ตำบลบางค้อ บางประทุม ตำบลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ตำบลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และอำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนทางภาคเหนือ พบต้นที่เก่าแก่ที่สุด อายุประมาณ 85 ปี เป็นกิ่งตอนปลูกอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลสันทรายน้อยในตรอกตรงข้ามวัดทรายมูล อำเภอทราย จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นของเจ้าราชภาคีนัย ซึ่งสวนนี้ นายเขียว แม่แก้ว จำปา ซื้อไว้ แล้วโอนมรดกให้แก่ พ่อปัน แม่จัน อาษากิจ ผู้เป็นบุตรและปัจจุบันได้ขายให้แก่คนจีนชื่อเจ็ง ได้รับการยืนยันว่าต้นนี้เป็นแม่ของลิ้นจี่บริเวณอำเภอสันทราย ซึ่งรู้จักกันในนามว่า ลิ้นจี่สันทรายและเท่าที่ดูจากลักษณะลำต้น ใบ และผล เป็นพันธุ์เดียวกันกับที่จีนเรียกว่า พันธุ์ฮงฮวย ลักษณะทั่วไปของลิ้นจี่ คือ ลำต้นใหญ่ อวบ แข็งแรง สีของเปลือกค่อนข้างยาว กิ่งบิดเล็กน้อย และง่ามค่อนข้างห่าง ใบใหญ่ ผิวด้านบนเขียวเป็นมัน ด้านล่างออกสีขาวอมเขียวเล็กน้อย ปลายใบไม่ค่อยแหลมเรียว ออกผลเป็นช่อยาว ผลโต ลักษณะค่อนข้างยาว สีชมพูแก่ เนื้อไม่หนานัก รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม เป็นพันธุ์ที่ออกผลค่อนข้างง่าย และเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันแพร่หลายที่สุดในภาคเหนือ
ลิ้นจี่นับเป็นผลไม้ที่มีรสดี ราคาแพง คนนิยมบริโภคกันมากและเป็นผลไม้ที่เหมาะแก่การบรรจุกระป๋องมากกว่าลำไย เพราะสามารถคว้านเมล็ดออกได้ง่ายกว่า มีรสเปรี้ยวอมหวานและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ดีกว่าบรรดาผลไม้จำพวกเงาะ ลำไยด้วยกัน โดยเฉพาะก็คือลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เหมาะแก่การปลูกในภาคเหนือมากที่สุด ในด้านความแข็งแรงทนทาน และอายุยืนนานนับว่าหาต้นไม้ผลแข่งยาก รากของลิ้นจี่เมื่อโตแล้วจะสานกันแน่นคล้ายรากโพธิ์หรือรากไทร โอกาสที่จะล้มไม่มี กิ่งก้านไม่เปราะนัก มีพุ่มที่สวยงาม ผลที่ออกมามีอายุสั้นจากระยะออกดอก จนถึงเก็บผลเพียง 4-5 เดือน เมื่อเทียบกับลำไย 6-7 เดือน ส้ม 8 เดือน เป็นต้น และข้อสำคัญในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งเป็นฤดูที่ผลลิ้นจี่แก่เป็นช่วงที่ผลไม่ไทยไม่ค่อยมี

ลิ้นจี่ ในภาคเหนือที่ปลูกกันมากได้แก่ ที่เชียงใหม่ทางอำเภอฝาง เชียงดาว สันทราย อำเภอเมือง ที่จังหวัดเชียงรายปลูกมากในอำเภอแม่จัน และแม่สาย
ดินฟ้าอากาศสำหรับลิ้นจี่
อากาศ แหล่งปลูกลิ้นจี่ที่สำคัญจะอยู่ในเขตซึ่งมีเส้นรุ้ง ระหว่าง 20-30 องศาอย่างกวางตุ้ง ฟุกเตียน และฟูเจา เป็นต้น รัฐวิหารและอุตรประเทศ ของอินเดียระหว่างเส้นรุ้ง 23-30องศา ฟลอริด้า 25-30 องศา ฮาวาย 20 องศา (เชียงใหม่และเชียงราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 18-19 องศา) ยิ่งองศาน้อยแสดงว่าอากาศยิ่งร้อนยิ่งองศามากอากาศยิ่งหนาว ทั้งนี้เพระแสงแดดจะเฉียงความเข้มข้นของแสงแดดและระยะเวลาที่แผ่นดินได้รับแสงแดดน้อยลงกว่าพวกที่อยู่ใกล้ศูนย์สูตร
ความชื้น ความชื้นในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ความชื้นในอากาศ ได้แก่ ไอน้ำ ลิ้นจี่ชอบชื้น และให้ผลดีในที่ ๆ อากาศชื้นมีไอน้ำมาก
2. ความชื้นในดิน ได้แก่น้ำในดินที่มากเพียงพอ โดยเฉพาะในระยะติดดอกและผล ถ้าดินแห้งมากดอกและผลจะร่วง

อุณหภูมิ ได้แก่ความร้อยหนาวของอากาศ กล่าวกันว่า ถ้าในฤดูร้อนอากาศร้อนแต่ชื้นและในฤดูหนาวอากาศเย็นและค่อนข้างแห้ง จะเหมาะแก่การเจริญและให้ผลของลิ้นจี่มาก ในช่วงก่อนออกดอก ถ้ามีอากาศหนาวเย็นราว 30-40 องศาฟาเรนไฮท์ หรือราว ๆ 1 องศาเซลเซียสถึง 4.5 องศาเซลเซียส ผ่านเข้ามาเป็นพัก ๆ ก็จะช่วยให้การออกดอกของลิ้นจี่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม อุณหภูมินี้แม้จะสูงกว่านี้บ้างเล็กน้อยแต่ถ้านานก็เพียงพอสำหรับการออกดอกของลิ้นจี่แล้ว

ปริมาณฝน สิ่งที่สำคัญสำหรับการปลูกลิ้นจี่ก็คือความชื้นในดินปกติลิ้นจี่ชอบดินที่ค่อนข้างลุ่มตามแม่น้ำและมีปริมาณฝนราว 40-60 นิ้ว/ปี หรือ 1,400-1,500 มิลลิเมตร/ปี แต่ถ้ามีฝนตกน้อยกว่า 40 นิ้ว จะต้องมีน้ำชลประทานเข้าช่วย
อย่างไรก็ดี ลิ้นจี่ไม่ได้ต้องการน้ำมากตลอดปี เพราะในช่วงออกดอกหรือในขณะที่อากาศเริ่มหนาว (อุณหภูมิเริ่มลดลง) ปริมาณน้ำในดินควรจะน้อยลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสะสมของอาหารในส่วนของใบและกิ่ง ก่อนออกดอก ใบลิ้นจี่ควรแก่หมด ไม่มีใบอ่อนแตกออกมา ถ้าเป็นดังนี้การออกดอกก็จะง่ายเข้า แต่เมื่อเห็นช่อชัดเจนแล้วก็เพิ่มความชื้นในดินให้มากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นผงไม่ควรให้ลิ้นจี่ขาดน้ำเป็นอันขาด
ดิน ดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและให้ผลของลิ้นจี่ ควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุมาก ดินร่วนเหนียวเป็นดินที่ลิ้นจี่ชอบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ดินร่วน ดินร่วนปนทรายและมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลางคือมี PH ระหว่าง 6-7 และข้อสำคัญไม่ว่าจะเป็นดินชนิดใดก็ตาม จะต้องระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขังแช่ตลอดเวลา คือควรมีระดับน้ำต่ำกว่าผิวดินอย่างน้อย 75 เซนติเมตร
ลมและพายุ ลิ้นจี่ไม่ชอบลมแรง โดยเฉพาะในที่มีพายุจัดควรตจะหลักเลี่ยงหรือถ้าจำเป็นต้องวางแผนป้องกันลมด้วยการปลูกต้นไม้บังลมไว้ เป็นแนวซึ่งอาจจะปลูกไม้จำพวกไผ่สีสุก มะขามเทศ ยูคาลิปตัส หรือกระถินณรงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
พันธุ์ลิ้นจี่ ลิ้นจี่ในโลกมีอยู่มากมายหลายสิบพันธุ์ ของไทยเราเองก็มีไม่ต่ำกว่า 20 พันธุ์ มีทั้งดีและเลว อย่างไรก็ดีลิ้นจี่ทุกพันธุ์ของเรา ก็เป็นพันธุ์มาจากประเทศจีนเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นในการเลือกพันธุ์ลิ้นจี่ที่จะปลูกจึงควรเลือกพันธุ์ที่ดีโดยยึดหลักดังนี้
1. เจริญเติบโตได้ดี เข้ากับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

2. เลี้ยงดูง่าย มีความต้านทานต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ดี

3. ออกดอกและติดผลง่าย
4. มีผลโต สีสวย รสดี และข้อสำคัญต้องไม่มีรสฝาด ควรจะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อมาก แห้งและไม่แฉะ
5. มีผลดอกและกระจายสม่ำเสมอ
6. ผลมีเปลือกหนา ไม่แตกหรือช้ำง่าย เก็บไว้ได้ทน
7. ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดเล็กและลีบได้ยิ่งดี
ซึ่งถ้ากล่าวตามลักษณะนี้ ในภาคเหนือของเรา มีพันธุ์ที่น่าสนในอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ และกิมเจ็ง

โดยเฉพาะพันธุ์ฮงฮวย มีการเจริญเติบโตดีมาก ออกดอกและผลง่าย ผลดก สีสวย รสดี เสียแต่มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ ส่วนพันธุ์โอวเฮียะและกิมเจ็ง ต้องการอากาศหนาวกว่าพันธุ์ฮงฮวย และต้องการความชื้นในดินมากกว่า ถ้าดินดีอากาศหนาวและน้ำในดินดีแล้วควรเลือกปลูก 2 พันธุ์หลังซึ่งเป็นพันธุ์ที่ดีมากเพราะมีผลโต สีแดงคล้ำ เปลือกหนา เนื้อหนา เมล็ดเล็กรสไม่เปรี้ยว
จึงขอแนะนำว่า ในที่ ๆ อากาศไม่หนาวนัก ดินและน้ำปานกลางควรปลูกพันธุ์ฮงฮวย แต่ถ้าอากาศหนาวเย็น ดินดี และน้ำดีควรปลูกพันธุ์โอวเฮียะและกิมเจ็ง
การคัดเลือกพื้นที่ปลูกลิ้นจี่
จากความรู้ที่ผ่านมาเราได้ทรายแล้วว่า ลิ้นจี่ต้องการน้ำมากต้องการดินดี โดยเฉพาะดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย และดินร่วนตามลำดับ ต้องการหน้าดินลึก มีอาหารพืชมาก ลักษณะพื้นที่ดังกล่าวจะหาพบได้ตามริมแม่น้ำใหญ่ ๆ และตามหุบเขา ซึ่งพื้นที่เหนือขึ้นไปเป็นป่าทึบ หรือจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเป็นดินที่เกิดจาก น้ำไหลทรายมูล หรือดินป่าที่มีอินทรียวัตถุทับถมกันมานาน ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ในการพิจารณาเลือกพื้นที่ ควรจะเป็นดังนี้
1. เลือกพื้นที่ดินจากที่เป็นที่ราบลุ่ม และระยายน้ำได้ดี หรือที่ราบเชิงเขา ที่ราบตามฝั่งแม่น้ำ

2. มีหน้าดินลึกมาก และไม่ควรมีกรวด ลูกรัง ดานแข็ง ในระดับตื้นกว่า 1 เมตร
3. มีแหล่งน้ำซึ่งสามารถนำมาใช้ได้สะดวกตลอดฤดูแล้ง ถ้าเป็นน้ำใต้ดินไม่ควรลึกเกินไปและมีปริมาณน้ำมาก พอที่จะใช้ได้ตามความต้องการ

4. การคมนาคมสะดวกไม่ทุรกันดาร สามารถเข้าออกได้ตลอดปี โดยไม่ลำบาก เหมาะแก่การลำเลียงผลลิ้นจี่ออกมาสู่ตลาดได้โดยไม่บอบช้ำ ใกล้แหล่งแรงงาน แหล่งปุ๋ยธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยคอก เป็นต้น
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่
ลิ้นจี่ ขยายพันธ์ได้หลายทาง ตั้งแต่เพาะเมล็ด ตอน ติดตา ทาบกิ่ง เสียบกิ่ง เป็นต้น แต่ที่สะดวกและได้ผลดี คือการตอน ลิ้นจี่เป็นพันธุ์ไม้ที่ตอนง่าย ออกรากง่าย เพียงแต่ปฏิบัติให้ถูกวิธีเสียก็จะได้ผล กล่าวพอสั้น ๆ ให้เข้าใจ ดังนี้
1. เลือกกิ่งที่โตพอควร มีอายุ 1 ปี อย่าให้เป็นกิ่งใหญ่มากนักและควรเป็นกิ่งเดี่ยว
2. เป็นกิ่งที่มีใบมาก มีใบแก่ทั้งหมด
3. ควั่นกิ่งตอนต้นฤดูฝน ลอกเปลือกออก ขูดเมือกที่กิ่งและในร่องไม้ให้หมด

4. หุ้มดินและกาบมะพร้าว ซึ่งแช่ไว้นานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนแล้วหุ้มทับด้วยใบตองหรือพลาสติกบาง

5. หมั่นคอยดูแลอย่าให้กาบมะพร้าว ถ้าฝนหยุดต้องให้น้ำ
6. เมื่อรากออกแล้ว อย่าเพิ่งรีบตัด ควรปล่อยให้รากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเสียก่อน
7. ชำกิ่งลิ้นจี่ที่ตัดออกมาจากต้น โดยรักษาใบไว้ให้มาก แต่รักษาความชุ่มชื้นให้ดี ลิ้นจีจะตั้งตัวเร็วและออกรากมาก

การเตรียมพื้นที่ปลูก
ถ้าเป็นพื้นที่ซึ่งค่อนข้างดอนน้ำไม่ท่วมขังแช่ เพียงแต่วัดระยะปลูกขุดหลุมผสมดินเสร็จ ก็พร้อมที่จะปลูกได้ แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำขังควรทำเป็นโคกให้กว้างและสูงพ้นน้ำอย่างน้อย 1 เมตร หรือถ้าสามารถขุดเป็นร่องแล้วนำดินในร่องมาพูนเป็นแปลงได้ก็ยิ่งดี

ระยะปลูกลิ้นจี่ สุดแล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินปานกลางควรใช้ระยะ 12 เมตร แต่ถ้าดินมีมากอาจจะให้ห่างถึง 17 เมตร การที่ต้องให้ระยะปลูกห่างไว้ก็เพราะลิ้นจี่เป็นไม้พุ่มที่มีอายุนาน แผ่รัศมีกว้างถ้าปลูกถี่ พุ่มจะชนกัน ทำให้การออกดอกและผลในส่วนข้างของลำต้นน้อยจะออกเฉพาะตอนยอดเป็นเหตุให้ผลผลิตต่ำ การปลูกห่างแม้จะเสียเนื้อที่ในระหว่างต้นและแถวมากแต่ก็อาจหาประโยชน์ได้จากการปลูกพืชแซมได้นาน
การวางระยะปลูก อาจจะวางได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
1. แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส คือระหว่างต้นและแถวเท่ากัน เช่นระหว่างต้น 12 เมตร แถว 12 เมตร
2. แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือระหว่างต้นแคบกว่าระหว่างแถว เช่น ระหว่างต้น 12 เมตร ระหว่างแถว 15 เมตร
3. แบบสามเหลี่ยม เป็นการปลูกแบบสลับกัน ปลูกระหว่างต้นต่อต้นเท่ากัน วิธีนี้จะได้จำนวนต้นมากกว่าแบบที่ 1 เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย
4. แบบคดโค้งไปตามเนินเขา แบบนี้แถวอาจจะคด และระหว่างแถวอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้แล้วแต่สภาพื้นที่ (ถ้าเป็นพันธุ์กิมเจ็งควรปลูกระยะ 8-10 เมตร เพราะโตช้า)

การปลูก

เมื่อเตรียมหลุมเสร็จแล้ว ให้นำกล้าลิ้นจี่ลงปลูก ถ้าชำอยู่ในถุงพลาสติกให้เอาถุงพลาสติกเสียก่อน แต่ถ้าชำในก๋วยหรือเป๊าะ ควรจุ่มลงในน้ำยากันปลวกเสียก่อน เป็นการป้องกันไว้แต่ต้นมือการปลูกให้คุ้ยดินตรงโคนหลักลงไปเล็กน้อยแล้วปลูกตั้งยอดให้ตรงแนบกับหลัก แล้วกดดินบริเวณโคนต้นด้วยมือให้แน่นพอควร เพื่อให้แน่นพอควร เพื่อให้ดินจับตัวกัน แล้วผูกเชือกรัดหรือลำตันให้แนบกับหลักจนแน่นสัก 2-3 เปลาะ เพื่อกันลมโยก จากนั้นให้หาหญ้า ฟาง หรือต้นกล้วยผ่าเป็นซีกคลุมดินบริเวณหลุมเพื่อรักษาความชื้นและกันน้ำที่รดหรือฝนชะหน้าดินแน่นเสร็จแล้วทำซุ้มบังแดด โดยเฉพาะทางทิศตะวันออก ตะวันตก และส่วนยอดลิ้นจี่ไม่ให้แดดเผา ซุ้มนี้ต้องทนทานจนถึงฤดูฝนและลิ้นจี่ตั้งตัวแล้วจึงเอาออกได้ ข้อสำคัญที่สุด ที่ควรปฏิบัติก็คือพยายามหาทางปลูกลิ้นจี่ตอนต้นฤดูฝนให้ได้ จะเป็นการประหยัดแรงงานและน้ำที่จะใช้รัด และยังช่วยให้ลิ้นจี่ได้รับน้ำฝนหลายเดือนจนตั้งตัวได้ก่อนเข้าฤดูแล้งอีกด้วย
การดูแลหลังจากปลูกแล้ว
1. เมื่อปลูกแล้ว ข้อควรระวังที่สุด ก็คือปลวก ซึ่งเป็นศัตรูที่ทำอันตรายต่อลิ้นจี่ได้มากที่สุดในระยะปลูกใหม่ โดยเข้ากัดกินหลักไม้ที่ปักไว้ เศษกาบมะพร้าว เศษใบไม้ใบหญ้า ฟางที่คลุมและจะกัดกินรากหรือกิ่งลิ้นจี่ที่จมอยู่ในดินทำให้ตายมาก ดังนั้นเมื่อปลูกเสร็จสิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ ใช้ยาฆ่าปลวกจำพวกคลอเดน ดีลดริน ออลดริน อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ปี๊บ รดราดให้ทั่วหลุมหรือจะใช้ยา บี . เอ . ซี . 2-3 ช้อน โรยกระจายที่หลุมก็ได้
2. หมั่นรดน้ำอย่าให้ดินในหลุมแห้งได้ แต่ต้องไม่ให้ถึงกับแฉะ ถ้าฝนหยุดตกไปหลายวัน ควรรดน้ำ การรดน้ำควรรดให้ดินเปียก จนถึงก้นหลุมดีกว่ารดน้อยเฉพาะปากหลุม เพื่อให้รากหยั่งลงไปลึก ๆ
3. หมั่นคอยดูแลหญ้าตามหลุมปลูก อย่าให้ขึ้นรบกวนแย่งอาหารต้นลิ้นจี่
4. คอยตรวจดูเชือกที่ผูกกิ่งยึดหลัก ถ้าขาดให้มัดใหม่
5. คอยซ่อมซุ้มบังแดดให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

6. คอยพ่นยาป้องกันแมลงที่จะรบกวนกัดกินใบ ซึ่งได้แก่หนอนแมลงปีกแข็งและปลวกที่จะเข้าทำลายรากเมื่อหมดฤทธิ์ยา

7. พรวนดินตามปากหลุม ถ้าเห็นว่าดินแน่นควรพรวนดินเบา ๆ อย่าให้ลึกนัก ระวังอย่าทำลายรากผิวดินเป็นอันขาด
การปฏิบัติหลังจากต้นลิ้นจี่ตั้งตัวแล้ว

1. การใส่ปุ๋ย ความจริงปุ๋ยคอกในหลุมปลูกมีสำรองอยู่แล้วอาจจะไม่ให้ปุ๋ยตลอดปีเลยก็ได้ แต่ถ้าหากต้นใดขาดความสมบูรณ์จะพิจารณาเพิ่มปุ๋ยให้บ้างก็ยิ่งดี สำหรับปุ๋ยลิ้นจี่ในประเทศจีนนิยมปุ๋ยอุจจาระคน ถ้าเป็นต้นใหญ่ใส่ถึง 225 กิโลกรัม/ต้น/ปี ในฟลอริด้าถ้าเป็นดินทรายและดินร่วนใช้ปุ๋ย 6-3-6-4 ถ้าเป็นสวนที่เป็นดินบุกเบิกใหม่ใช้ปุ๋ย 4-7-5 หรือ 6-6-6 และอาจปนแมกนีเซี่ยมออกไซด์ลงไป 2-3 ส่วน จำนวนที่ใส่ถ้าเป็นต้นเริ่มปลูกให้ใส่จำนวน 1 กระป๋องนม และเพิ่มขึ้นตามอายุ ถ้าอายุ 5 ปี ก็ใส่ 2-3 กิโลกรัม ใส่ทุก 6 สัปดาห์แล้วค่อยลดจำนวนครั้งลงจนกระทั่งลิ้นจี่มีอายุ 5 ปี ใส่ปีละ 3 ครั้ง
2. การพรวนดิน ลิ้นจี่เป็นพืชที่มีรากหาอาหารอยู่ตามผิวดิน ดังนั้นการพรวนดิน จึงเป็นการทำอันตรายต่อราก เป็นผลเสียหายร้ายแรงต่อต้นลิ้นจี่ควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมหรือหาหญ้าฟางคลุมดินบริเวณโคนต้นจะดีกว่าพรวนดิน

3. การแต่งกิ่งลิ้นจี่ มีความจำเป็นในการแต่งกิ่งไม่มากนักเมื่อเทียมกับส้ม ส่งสำคัญในการแต่งกิ่งก็คือพยายามอย่าให้เกิดง่ามแคบ ๆ ซึ่งจะทำให้มีกิ่งในพุ่มมากนัก เพราะกิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยให้ผล จึงควรตัดออก
4. การให้น้ำ ก่อนที่ลิ้นจี่จะถึงอายุให้ผลควรให้น้ำตลอดปี เพื่อให้เจริญเติบโตเร็ว และแข็งแรงแต่เมื่อถึงอายุให้ผลแล้ว เมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาวพยายามให้น้ำน้อยลงจนงดให้น้ำ แต่เมื่อเห็นดอกแน่ชัดแล้วจึงเพิ่มน้ำให้มากขึ้นตามลำดับ

การออกดอกและผล

ลิ้นจี่ จะออกผลราวเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์และจะเริ่มเป็นผลแก่ในราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกลิ้นจี่จะออกตามปลายกิ่งดังนั้นถ้าปลูกชิดกันมาก ลิ้นจี่จะออกดอกตามพุ่มด้านบนมากกว่าด้านข้าง ทำให้ได้ผลน้อยลิ้นจี่มีดอกปลายประเภท ดอกตัวผู้ ดอกกระเทยที่ทำหน้าที่เป็นเมีย ดอกกระเทยที่ทำหน้าที่เป็นตัวผู้ ดอกชนิดแรกจะบานก่อนในช่อ ถัดมาเป็นดอกชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ตามลำดับ และแต่ละช่อดอกจะบานไม่พร้อมกันแม้ว่าในช่อเดียวกันลิ้นจี่อาจจะมีโอกาสถ่ายละอองเกสรในช่อเดียวกันก็ตามแต่ก็พบว่าแมลงโดยเฉพาะผึ้งมีส่วนช่วยให้การถ่ายละอองเกสรจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งมาก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการพ่นยาในระยะดอกบาน

การเก็บผล

จากการที่ช่อดอกในต้นเดียวกันบานไม่พร้อมกันทำให้การแก่ของผลไม่พร้อมกันด้วย ดังนั้นเวลาเก็บผลลิ้นจี่ต้องเก็บเฉพาะช่อที่แก่จัดโดยดูจากสีผิวของผลจะแดงจัดหรือบางพันธุ์แดงจนคล้ำ ถ้ายังอมเขียวอยู่มากหรือสีไม่จัดจะเปรี้ยวไม่ควรเก็บ การเก็บควรทยอยเก็บ 2-3 วันต่อครั้งกว่าจะเก็บหมดจะต้องใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ การเก็บควรใช้กรรไกรตัดให้ติดก้านช่อมาด้วย แล้วมาแต่งอีกครั้ง โดยตัดก้านแห้งและลูกเล็กทิ้ง การเก็บควรเก็บหลังจากน้ำค้างที่ติดผลอยู่แห้งแล้ว เพื่อว่าสีของผิวจะได้ซีดช้าภาชนะที่ใส่ลิ้นจี่ควรเป็นตะกร้า เข่งที่ไม่ลึกนัก คือ ลึกไม่เกิน 10 นิ้วฟุต เพื่อไม่ให้ลิ้นจี่ทับกันแน่นจนช้ำ ถ้าจะเก็บโดยให้สีของผลลิ้นจี่อยู่ได้นานควรเก็บใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในที่เย็น
ศัตรู
ศัตรูของลิ้นจี่เหมือน ๆ กับผลไม้อื่น ๆ เช่น หนอนกินใบเพลี้ยต่าง ๆ หนอนเจาะผล มวนหวาน ค้างคาว นก เป็นต้น

แมลงศัตรูลิ้นจี่

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ในบางแห่งพบไรลิ้นจี่ (Frinos mite) ซึ่งเป็นไรที่มีขนาดเล็กมากระบาดมากในฤดูแล้ง ทำลายใบอ่อนด้านล่างให้เป็นสักกะหลาด และเป็นสีน้ำตาล ไรชนิดนี้ทำลายทั้งดอกและผลด้วย นับเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุด และป้องกันกำจัดยาก ต้องระยังอย่าเอากิ่งพันธุ์จากแหล่งที่มีศัตรูชนิดนี้ระบาดอยู่ ถ้าพบว่ามีการระบาดจะต้องพ่นยากำจัด เช่น เคลแทน อลาไมท์ หรือไดเมทโธเอท เป็นระยะ ๆ และทุกครั้งที่ออกใบอ่อน.


ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร


สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290

โทร. 0-53873938 , 0-53873939

แหล่งที่มา : http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit032.htm

การปลูกกล้วย


กล้วยเป็นไม้ผลเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาวหวาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ กล้วยตาก ท๊อปฟี่ กล้วยทอด กล้วยบวชชีกระป๋อง กล้วยในน้ำเชื่อมกระป๋อง เป็นต้น


ส่วนใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปต่าง ๆ ได้แก่ กระทง บายศรี ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ เพื่อให้มีผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลงก้านใบและกาบกล้วยแห้งใช้ทำเชือก กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ หัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย สำหรับคุณค่าทางอาหาร กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ

เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลักหรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

สถานการณ์ผลิตและการตลาดกล้วย


1. สถานการณ์ผลิต กล้วยน้ำว้ามีการปลูกกันทั่วไปทั้งแถบหลังบ้านและเชิงการค้า ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 732,000 ไร่ ผลผลิต 1,185,000 ตัน แหล่งปลูกได้แก่ เลย นครพนม หนองคาย ชุมพร ระนอง และนครราชสีมา

กล้วยหอม ส่วนใหญ่มีการปลูกเชิงการค้าแหล่งปลูกได้แก่ ชุมพร ระนอง สงขลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 53,560 ไร่ ผลผลิต 90,439 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,391 กิโลกรัม/ไร่


กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกเชิงการค้าเป็นส่วนใหญ่ แหล่งปลูกสำคัญ จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ชลบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช ปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 93,000 ไร่ ผลผลิต 150,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,140 กิโลกรัม/ไร่

2. สถานการณ์ตลาด การตลาดกล้วยส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งขายตลาดภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอม และกล้วยไข่

2.1 กล้วยน้ำว้า

ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดกล้วยสดเพื่อการบริโภคได้แก่ ตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัด และตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาด อตก. ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2537 กิโลกรัมละ 3.22 บาท

นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้ายังสามารถส่งโรงงานแปรรูปต่าง ๆ เช่น โรงงานทำกล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยทอด กล้วยฉาบ


กล้วยน้ำว้า


สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยกระป๋องในน้ำเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยผสมกับผลไม้อื่น (ฟรุ๊ทสลัด)
2.2 กล้วยหอมทอง
ตลาดภายในส่วนใหญ่เป็นกล้วยสดเพื่อการบริโภคผลสุก ตลาดนอกเป็นตลาดท้องถิ่น ตลาดประจำจังหวัด ตลาดกลาง ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ปากคลองตลาด ฯลฯ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2537 กิโลกรัมละ 9.30 บาท
กล้วยหอมค่อม
ส่วนตลาดส่งออก ปัจจุบันมีการผลิตกล้วยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และที่สหกรณ์การเกษตรละแม จังหวัดชุมพร ปริมาณที่ได้ส่งออกปี 2539 จำนวน 878 ตัน มูลค่า 18.5 ล้านบาท

2.3 กล้วยไข่
ตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดรับของกิโลเมตร 8 ถนนสายกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร ตลาดปาอ่าว ริมถนนสายเอเซียระหว่างนครสวรรค์-กำแพงเพชร ตลาดประจำจังหวัด และตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ปากคลองตลาด ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท เป็นต้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2538 กิโลกรัมละ 4.27 บาท

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศหนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง


ดิน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี

ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 50-100 นิ้ว/ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชบประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย


ลม พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว

พันธุ์กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า

1. กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถทนทานสภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่าย การใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุก มีรสชาดหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้

1.1 กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง

1.2 กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง

1.3 กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง

1.4 กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

2. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาดหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด
3. กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายกล้วยหอมทอง แต่กล้วยหอมเขียวกาบใบชั้นในมีสีแดงสด ปลายผลมน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

4. กล้วยหอมค่อม เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ย หรือแคระ ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาดดี จึงมีชื่อว่า กล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย


5. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่ สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

6. กล้วยหักมุข เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลาง ลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวล ปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม
 
7. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสชาดหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก หรือทำเป็นกล้วยตา เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร
 
ฤดูกาลปลูกกล้วย

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออกปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา
กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่


1. กล้วยไข่ ควรได้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

2. กล้วยหอม การปลูกกล้วยเป็นการค้าสำหรับตลาดภายในประเทศก็เช่นเดียวกันกับกล้วยไข่ เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติ แต่สำหรับการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกนั้น ส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่ เพื่อผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทองของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออกต้องการ

แหล่งที่มา :  http://www.ku.ac.th/e-magazine/february44/agri/banana.html

การปลูกส้มโอ

พันธุ์ส้มโอ
พันธ์ส้มโอที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ปลูกคนละท้องที่ จึงเรียก ชื่อแตกต่างกันไป พันธุ์ส้มโอที่ปลูกเพื่อการค้าแบ่งออกได้ดังนี้


1 . พันธุ์การค้าหลัก ได้แก่ ขาวพวง ขาวทองดี ขาวน้ำผึ้ง เป็นต้น









2. พันธุ์การค้าเฉพาะแห่ง ได้แก่ ขาวแป้น ขาวหอม ขาวแตงกวา ท่าข่อย ขาวใหญ่ หอมหาดใหญ่ เจ้าเสวย กรุ่น ขาวแก้ว เป็นต้น

พันธุ์ขาวพวง
ผลมีขนาดโตปานกลาง ทรงผลกลม ทรงสูงเล็กน้อย มีจุกสูง มีกีบที่จุก ด้านก้นผลเว้าเล็กน้อย ผิวเรียบ มีสีเขียวอมเหลีอง ต่อมน้ำมันที่ผิวเปลือกค่อนข้างใหญ่ อยู่ห่างกันพอสมควร เปลือกหนาปานกลาง ผลหนึ่งมีกลีบผล ประมาญ 12 - 14 กลีบ แยกออกจากกันได้ง่าย กุ้ง (เนื้อ) มีสีขาวอมเหลือง ค่อนข้างแข็งเบียดกันอยู่อย่างหลวม มีน้ำมากแต่ไม่แฉะน้ำ รสหวานอมเปี้ยว มีเมล็ดไม่มาก เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ไนเทศกาลไหว้พระจันทร์ เนื่องจากมีรูปทรง ผลสวย (ทรงผลมีสกุล) จึงสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทค ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ได้ปีละเป็นจำนวนมาก


พันธุ์ขาวทองดีหรือทองดี
ผลมีขนาดโตปานกลาง ทรงผลกลมแป้น ไม่มีจุก ต้นขั้วผลมีจีบเล็กน้อย ก้นผลเรียบถึง เว้าเล็กน้อย ผิวเรียบมีสีเขียวเข้ม ต่อมน้ำมันละเอียดอยู่ชิดกัน เปลือกค่อนข้างบาง ด้านในของเปลือกมีสีชมมพูเรื่อๆ ผลหนึ่ง มีกลีบผลประมาณ 14-16 กลีบ ผนังกลีบมีสีชมพูอ่อน กุ้งมี สีชมพูเบียดกันแน่น นิ่ม ฉ"าน้ำ รสหวานอมเปี้ยว เมล็ดมี ขนาดเล็ก เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปและส่งไปจำหน่าย ยังต่างประเทศ
 
พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทรงผลกลมสูง แต่ไม่มีจุกเด่นชัดเหมือนพันธุ์ขาวพวง ด้านก้นผลเรียบ ต่อม น้ำมันที่ผิวเปลือกมีขนาดใหญ่อยู่กันห่างๆ ผิวเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกค่อนข้างหนา ผลหนึ่งมีกลีบผลประมาณ 11-12 กลีบ แยกออกจากกันง่าย กุ้งมีสีขาวอมเหลือง ขนาดกุ้งค่อนข้างใหญ่ เบียดกันแน่น มีน้ำมากแต่ไม่แฉะ รสหวานอมเปรี้ยว สามารถ แกะเนื้อออกมาได้ง่าย เมล็ดมีขนาดใหญ่ แต่มีเมล็ดไม่มากนัก เป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไป
 
สภาพดินฟ้าอากาศ
ส้มโอสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกขนิด ไม่ว่าจะ เป็นดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดีน้ำ ไม่ท่วมขังแฉะ แต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกันไป พื้นที่ปลูก ที่ทำให้ส้มโอเจริญงอกงามดี ผลดก และมีคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่ดินโปร่ง ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุอยู่มาก ระบายน้ำได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องยกร่อง เพื่อให้มีการระบาย น้ำได้ดี ควรมีระดับน้ำใต้ดินไม่น้อยกว่า 4 ฟุต น้ำไม่ขังแฉะ ดินมีความเป็นกรดด่างประมาณ 5.6-6 น้ำต้องได้รับสม่ำเสมอ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,500 - 2,000 มิลลิเมตร และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมเฉลี่ยประมาณ 25 - 30 องคาเซลเซียส
 
การขยายพันธุ์ส้มโอทำได้หลายวิธีคือ


1.การเพาะเม็ด

2.การติดตา

3.การเสียบกิ่ง

4.การตอน

แต่ที่ชาวสวนนิยมทำอยู่ในปัจจุบันคือการตอน ซึ่งเป็น วิธีที่ชาวสวนส้มโอมีความชำนาญมาก เนื่องจากมีข้อดีหลาย ประการ เช่น วิธีการทำง่าย ุอุปกรณ์หาได้ง่าย ราคาถูก ออกรากเร็ว ต้นที่ได้ไม่กลายพันธุ์ ให้ผลเร็ว ต้นไม่สูง ทรงต้น เป็นพุ่ม สะดวกในการเข้าไปดูแลรักษา แต่ก็มีข้อเสียคือ อายุไม่ ยืน และอ่อนแอต่อโรค อุปกรณ์ที่ใช้ไน่การตอนกิ่งส้มโอมีดังนี้

1.มีด

2.ขุยมะพร้าว

3.ถุงพลาสติก

4.เชือกฟาง

ฤดูที่ทำการตอนกิ่งส้มโอ

ตามปกติแล้ว การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะทำการตอนใน ฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะ ในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ฝนตก บ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน



การคัดเลือกกิ่งตอน

ก่อนที่จะทำการคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน ต้อง พิจารณาเลือกต้นก่อน เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย ซึ่งมีหลักในการ พิจารณาหลายประการ เช่น

เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถ จะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ ตามมาได้อีก

เป็นต้นที่ให้ผลดก ให้ผลสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ดี และมีรสดี

เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต แข็งแรง สังเกต จากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ

เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน



เมื่อเลือกได้ต้นที่ดีแล้ว จึงมาทำการคัดเลือกกิ่งที่จะ ตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อย คำนึงถึงกัน เห็นกิ่งใดพอที่จะตอนได้ก็ตอนหมด ซึ่งนับว่าไม่ ถูกต้อง เพราะว่าต้นไม้แต่ละต้นมีกิ่งที่มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์ไม่เท่ากัน บางกิ่งก็แข็งแรงดี บางกิ่งแคระแกน อ่อนแอ บางกิ่งก็แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้กิ่งตอน ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกกิ่งตอนดังนี้

1 . กิ่งที่จะใช้ตอนนั้น ต้องเป็นกิ่งเพสลาด คือไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป มีใบยอดคลี่เต็มที่ และเจริญเติบโตจนเป็น ใบแก่แล้ว

2. กิ่งที่จะตอนควรจะเป็นกิ่งกระโดงตั้งตรง หรือเอียง เล็กน้อย ไม่เป็นกิ่งที่ห้อยเอายอดลงดิน เพราะจะทำให้รากที่ งอกออกมางอ เมื่อตัดไปปลูกจะได้กิ่งตอนที่ปลายรากชี้ฟ้า

3. เป็นกิ่งที่มีความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร มีกิ่งแขนงแยกออก 2-3 กิ่ง

4. เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตแข็งแรงปราศจากโรคและ แมลง


วิธีตอนกิ่ง
เมื่อเลือกได้กิ่งที่สมบูรณ์ตามต้องการแล้ว จึงทำการ ควั่นกิ่ง การควั่นนั้นให้ควั่นที่ใต้ข้อของกิ่งเล็กน้อย เนื่องจาก บริเวณข้อของกิ่งจะสะสมอาหารไว้มาก ทำให้การงอกของ รากเร็ว และได้รากจำนวนมาก รอยควั่นด้านล่างห่างจาก รอยควั่นบนเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง กรีดที่ เปลือกระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกตรงรอยควั่นออก ส่วนมากแล้วกิ่งที่ลอกเปลือกออกได้ง่ายจะงอกรากได้เร็วกว่า กิ่งที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้มีดขูดเยื่อเจริญซึ่งมีลักษณะเป็น เยื่อลื่นๆ ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเจริญมาประสานกัน ต่อได้อีก ซึ่งจะทำให้รากไม่งอก สังเกตได้โดยใช้มือจับดู ถ้าหาก ลื่นแล้วแสดงว่าขูดเยื่อเจริญออกหมดแล้ว


นำถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้มาผ่าตรงกลาง จากด้านที่ มีเชือกมัดจนถึงก้นถุงใช้มือแหวกขุยมะพร้าวให้แยกออกเป็นร่อง นำไปหุ้มรอยควั่น พร้อมกับมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นอย่าให้ ถุงขุยมะพร้าวหมุนได้


การปฏิบัติบำรุงรักษากิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งเสร็จแล้ว ต้องคอยลังเกต ตุ้มตอนว่ามีมดหรือปลวกเข้าไปทำรังอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รีบ ทำการกำจัดโดยใช้ยาเคมีฉีดพ่นที่ตุ้มตอนหรือถ้าตุ้มตอนมีการ ชำรุดเนื่องจากมีสัตว์มาทำลาย กให้ทำการซ่อมแซมใหม่

การตัดกิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งเสร็จแล้ว ต้องคอยลังเกต ตุ้มตอนว่ามีมดหรือปลวกเข้าไปทำรังอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้รีบ ทำการกำจัดโดยใช้ยาเคมีฉีดพ่นที่ตุ้มตอนหรือถ้าตุ้มตอนมีการ ชำรุดเนื่องจากมีสัตว์มาทำลาย กให้ทำการซ่อมแซมใหม่
 
ระยะปลูก
เนื่องจากต้นส้มโอที่ใช้ปลูกกันส่วนมากได้จากกิ่งตอน จึงมีทรงพุ่มไม่กว้างมากนัก ดังนั้นถ้าปลูกใน สภาพที่ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ดีก็อาจจะมีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 8 x 8 เมตร แต่ถ้าปลูกในสภาพที่ดินไม่สู้จะอุดมสมบูรณ์เท่าไรนัก หรือที่ มีระดับน้ำใต้ดินสูงก็อาจจะปลูกให้มีระยะระหว่างต้น ระหว่างแถว ประมาณ 6 x 6 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 25-40 ต้น
 
การปลูก
ดังที่กล่าวมาแล้ว ส้มโอสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด เช่น ดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย การปลูก ส้มโอในดินแต่ละชนิดจึงต้องมีการเตรียมพื้นที่ไม่เหมือนกัน เพื่อเป็นการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมในการปลูกจึงแยก การปลูกส้มโอออกได้ 2 วิธี คือ


1. การปลูกส้มโอในดินเหนียวซึ่งมีน้ำท่วมถึง
ในสภาพพื้นที่ของเขตอำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นต้น สภาพทั่วไ่ปจะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่ง แม่น้ำ ดินเหนียวจัด ระบายน้ำยาก มีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนมากจะดัดแปลงมาจากท้องนา สวนผัก แล้วยกร่องให้เป็น แปลงขิ้น ให้ระดับดินสูงกว่าพื้นที่ราบทั่วไป เพื่อรากส้มโอได้ กระจายได้ลึกกว่าปกติ ระหว่างแปลงดินจะมีทางน้ำ สามารถ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และช่วยระบายน้ำออกในฤดูฝน ขนาด ของแปลงดินกว้างประมาญ 6 เมตร ร่องน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร และที่ก้นร่องน้ำกว้างประมาณ 50 ซ.ม. -70 ซ.ม. และ ลึกประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวของแปลงดินไม่จำกัด แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของสวน






2. การปลูกส้มโอในที่ดอน




ที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงการปลูกส้มโอในพื้นที่แบบนี้ไม่ต้องยกร่อง ควรปรับพื้นที่ให้เรียบ ทำลายวัชพืชและไถกลบดินให้ลึกสัก 2 ครั้ง ถ้าเป็นดินเก่าที่ ไม่สู้จะอุดมสมบูรณ์ก็ควรหว่านพืชตระกูลถั่วลงแล้วไถกลบ เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยสดให้กับดิน

วิธีปลูก
ถ้าเป็นการปลูกส้มโอแบบยกร่อง จะปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 6 เมตร โดยขุดหลุมปลูกกลางแปลงดิน ส่วนการปลูกในพื้นที่ดอนจะปลูกตามลักษณะของพื้นที่โดยให้มีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ 6 x 6 เมตร



หลุมปลูกควรมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ขุดหลุมแยกดินบนและดินล่างไว้แยกกัน กองไว้ปากหลุม แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 เดือน เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคเชื้อราต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน ผสมดินปนกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หญ้าแห้ง และบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมจนเต็มปากหลุม นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้ปลูกตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินอยู่เหนือตุ้มกาบมะพร้าว กิ่งตอนเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับพอดีกับระดับดินที่ชำ แล้วใช้ไม้หลักปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม หาวัสดุพรางแสงแดด เช่น ทางมะพร้าว หรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่พรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ


ในระยะที่ปลูกส้มโอใหม่ ๆ ต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวได้ เมื่อส้มโอเจริญเติบโตดีแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น

2. การใส่ปุ๋ย

ส้มโอควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกควบคู่กันไป ในระยะที่ส้มโออายุ 1 - 3 ปี หรือยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 - 15 ปุ๋ยเคมีใช้อัตรา 300-500 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ 3 - 4 ครั้ง/ปี เมื่อส้มโอให้ผลแล้วเมื่อ อายุ 4 ปีขึ้นไป การใส่ปุ๋ยจะแตกต่างกันไปตามช่วงของการ ออกดอกติดผล กล่าวคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วจะให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อให้ต้นส้มโอฟื้นตัวจากการออกผลเร็วขึ้น เมื่อส้มโอจะเริ่มออกดอกใหม่ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ 12 - 24 - 12 เพื่อช่วยให้มีการสร้างดอกดีขึ้น เมื่อติดผล แล้วประมาณ 30 วัน ขณะที่ผลยังเล็กอยู่ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตของผลดีขึ้น จนกระทั่ง ผลมีอายุได้ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 เพื่อช่วยให้ ผลมีการพัฒนาด้านคุณภาพของเนื้อดีขึ้น มีความหวานมากขึ้น ส่วนอัตราการใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่มและ จำนวนผลที่ติดในแต่ละปี โดยทั่วไปเมื่อต้นส้มโออายุได้ 6-7 ปี ก็จะโตเต็มที่ การใส่ปุ๋ยอาจจะใส่ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม สำหรับต้นส้มโอที่มีการติดผลมาก ควรใส่ปุ๋ยทางใบเสริม เพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีคุณภาพดี หรือต้นส้มโอที่มีสภาพโทรม มาก ๆ จากการที่มีน้ำท่วมหรือน้ำเค็มควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมจะ ช่วยให้การฟื้นตัวของต้นส้.มโอเร็วขึ้น

วิธีการใส่ปุ๋ยโรยบนพื้นดินภายในบริเวณทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ซิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือก รอบโคนต้นส้มโอเน่า และอาจทำให้ส้มโอตายได้

3. การตัดแต่งกิ่ง

ควรตัดแต่งกิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้นให้หมด รวมทั้งกิ่ง ที่ไม่ได้ระเบียบ กิ่งที่มีโรคแมลงทำลายออกทิ้ง การตัดแต่งกิ่งควร ทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งฉีก หลังจากตัดแต่งกิ่งควรใช้ ยากันเชื้อราหรือปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงรอยแผลที่ตัด เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา เดษที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่ง ควรรวมไว้เป็นกองแล้วนำไปเผาทำลายนอกสวน

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

1.เพื่อให้การออกดอกติดผลดีขึ้น เนื่องจากใบได้รับ แสงแดดทั่วถึงกัน การปรุงอาหารของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป

3.ช่วยให้กิ่งแย่งอาหารลดน้อยลง เพราะกิ่งนี้ ชาวสวนต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่คอยแย่งอาหารและไม่ค่อยออก ดอกติดผล

4.ช่วยทำให้ขนาดของผลส้มสมสม่ำเเสมอได้ขนาดตามที่ ตลาดต้องการ



4. การกำจัดวัชพืช

ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหาจากวัชพืชที่ขั้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้วังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงอีกด้วย จึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก แต่การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชอื่นให้หมดไปเลยก็ไม่ดีควรให้มีเหลืออยู่บ้างจะช่วยยึดดินไม่ให้หน้าดินพังทลาย รวมทั้งช่วยป้องกันกายระเหยของน้ำได้อีกด้วย ่

การกักน้ำส้มโอเพื่อการออกดอก
การกักน้ำส้มโอเป็นการบังคับน้ำเพื่อให้ส้มโอออกดอก เร็วขึ้นและสม่ำเสมอกันโดยการกักน้ำหรือสูบน้ำออกจากร่อง สวนให้แห้งทิ้งไว้ ประมาณ 7 - 30 วัน ระหว่างนี้ส้มโอจะเฉา ใบมีลักษณะห่อ จึงปล่อยน้ำให้เข้าไปใหม่ ส้มโอจะรีบดูดน้ำ เข้าไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะเริ่มแตกใบอ่อนพร้อมกับมี ช่อดอกออกมาด้วย นับจากให้น้ำจนถึงออกดอกใช้เวลาประมาณ 15 - 60 วัน วิธีนี้สามารถทำให้ส้มโอออกดอกเร็วขึ้นตามต้องการ ได้ แต่จะเป็นการทำให้ต้นส้มไอโทรมเร็วกว่าที่ปล่อยให้ส้มโอทยอยออกดอกตามธรรมชาติ

การป้องกันน้ำเค็มและน้ำเสีย
เนื่องจากสวนส้มโอส่วนมากที่อยู่ในภาคกลางมักจะทำ สวนกันด้วยการยกร่อง เมื่อถึงฤดูแล้งมักจะประสบปัญหาน้ำเค็ม เอ่อเข้าท่วมสวนอยู่มาก สวนส้มโอจึงมักจะได้รับความเสียหาย จากน้ำเค็มเป็นประจำ จึงควรทำการปีองกันน้ำเค็มและน้ำเสีย ไม่ให้เข้าทำลายส้มโอดังนี้


1.เมื่อเข้าฤดูแล้งให้รีบกักน้ำจืดไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่ น้ำเค็มหรือน้ำเสียจะเข้าถึงแล้วสร้างทำนบคันดินรอบสวน เพื่อกันน้ำเค็มเข้า และหมั่นตรวจดินทำนบกั้นน้ำและประตู ระบายน้ำ (ลูกท่อ) อย่าให้รั่วซึมได้

2.รดน้ำให้ส้มโออย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มี น้ำจืดใช้อย่างพอเพียงในข่วงที่น้ำเค็มเข้าถึง

3.ขุดลอกท้องร่องหรือโกยเลนจากท้องร่องเพื่อนำมา คลุมผิวดินบนอกร่อง รวมทั้งหากาบมะพร้าว ใบกล้วย ฟางข้าว เคษไม้ หญ้าแห้ง มาคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในดินเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำลง

4.เก็บจอกแหน เศษใบไม้ ผลมะพร้าว ที่ร่วงหล่นอยู่ ในน้ำในท้องร่องสวนขึ้นไว้บนอกร่องให้หมด เพื่อปัองกันน้ำใน ท้องร่องเน่าเสีย

5.หมั่นตรวจน้ำในคูคลองส่งน้ำบ่อย ๆ หากมีน้ำจืด เข้าเป็นครั้งคราวให้รีบสูบหรือปล่อยน้ำเข้าสวน เพื่อเก็บกัก น้ำไว้

6.หมั่นตรวจดูน้ำจืดในบริเวณสวนที่เก็บกักไว้เสมอ โดยการชิมดูว่ามีรสกร่อยหรือเค็ม หรือมีสีสรรผิดจากปกติ ที่เป็นอยู่หรือไม่ หากมีแสดงว่าคันดินกั้นน้ำหรือประตูระบายน้ำ รั่วซึม ให้รบทำการซ่อมแซมเสีย

7.หมั่นตรวจดูอาการของส้มโอในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวเฉา ไหม้เกรียม เป็นอาการแรกเริ่มของส้มโอที่ถูกน้ำเค็มหรือน้ำเสีย ให้รีบแก้ไข โดยหาน้ำจืดมารดให้ชุ่มโชก เพื่อลดปริมาณความเค็มหรือ น้ำเสียให้เจือจางลง

ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว
ส้มโอจะเริ่มให้ผลเมื่อประมาญ 4 ปี ในฤดูปกติส้มโอที่ ปลูกในภาคกลางจะเริ่มออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน จน ถึงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะมกราคมถึงกุมภาพันธ์ จะออกดอก มากที่สุด เรียกว่าส้มปี และจะมีออกประปรายในเดือนอื่นๆ เรียกว่า ส้มทะวาย ดอกที่ออกมานี้จะทนและติดเป็นผลแกใช้ เวลาประมาณ 8 เดือน ซึ่งจะเป็นเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเป็นฤดูที่ส้มแก่มากที่สุด แต่ส้มโอพันธุ์ขาวทองดีจะแกช้ากว่า พันธุ์ขาวพวงและขาวแป้นเล็กน้อย คือจะแก่เก็บได้ราวเดือน กันยายนถึงตุลาคมเป็นส่วนมาก ในด้านความดกนั้นพันธุ์ ขาวพวงและขาวแป้นจะดกมาก ต้องทำการปลิดผลทิ้งให้ เหลืออยู่พอดีกับขนาดของต้น


ส้มไอทีปลูกกันในจังหวัดภาคกลางผลผลิตจะเริ่มลดลง เมื่อส้มโออายุประมาณ 10 ปี ขึ้นไป เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินสูง รากส้มถูกจำกัดพื้นที่ ส่วนส้มโอที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ ถ้ามีการ ดูแลรักษาที่ดีสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึงอายุ 15 - 20 ปี
 
การเก็บเกี่ยว
ผลส้มโอที่อยู่ไม่สูงมากนักควรใช้ กรรไกรตัดขั้ว ถ้าเป็นผลที่อยู่สูงควรใช้ที่เก็บเกี่ยวชนิดมีขอ ตัดต่อด้าม และมีเขือกกระคุกพร้อมถุงรองรับ จะช่วยให้ผล ไม่ร่วงหล่นลงดินประโยชน์ของส้มโอ



ส้มโอมีประโยซน์ตั้งแต่เปลีอกใช้เชื่อมเป็นขนมหวาน เช่นหวัดเพชรบุรี ทำเปลือกส้มโอเชื่อมจนเป็นสินค้าพื้นเมือง ไปขายไกลๆ ส่วนเนื้อที่เปรี้ยวใช้ประกอบกับข้าวยำทางภาคใต้ เนื้อหวานอมเปรี้ยวใช้ทำส้มโอลอยแก้ว ส่วนเนื้อหวานใช้ รับประทานเป็นผลไม้สด
 
ประโยชน์ของส้มโอ
ส้มโอมีประโยซน์ตั้งแต่เปลีอกใช้เชื่อมเป็นขนมหวาน เช่นหวัดเพชรบุรี ทำเปลือกส้มโอเชื่อมจนเป็นสินค้าพื้นเมือง ไปขายไกลๆ ส่วนเนื้อที่เปรี้ยวใช้ประกอบกับข้าวยำทางภาคใต้ เนื้อหวานอมเปรี้ยวใช้ทำส้มโอลอยแก้ว ส่วนเนื้อหวานใช้ รับประทานเป็นผลไม้สด
 
การปอกเปลือกส้มโอ
การปอกเปลือกส้มโอที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป มักจะใช้มีดกรีดผลจากขั้วผลลงมา 5-6 รอย แล้วจึงลอกเอา เปลือกออก โดยใช้นิ้วมือสอดไประหว่างเปลือกและกลีบผล วิธีนี้จะทำให้ต่อมน้ำมันที่เปลือกแตกเลอะมือ เมื่อลอกเอาเนื้อ ออก บางส่วนของเนื้อจะติดกับน้ำมันของเปลือกที่ติดมืออยู่ ทำให้มีกลิ่นเหม็นและเสียรสชาติไป จึงขอแนะนำวิธีการ ปอกเปลือกส้มโอให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี ดังนี้


1.ใช้มีดปอกส่วนของเปลือกที่เป็นสีเขียวออกจนหมด

2.ลอกเปลือกสีขาว ซึ่งจะทำให้ลอกออกได้ง่ายและไม่ มีกลิ่นของน้ำมันที่ผิวเปลือกติดออกมา

3.เมื่อเหลือแต่เปลือกหุ้มกลีบ จึงลอกเอาเปลือกหุ้ม ออกทีละกลีบจะได้เนื้อที่เป็นกลีบสวยงามและมีรสชาติดี
 
การป้องกันและกำจัดแมลงศตรูส้มโอ
1. มวนเขียว


ระบาดมากที่สุดในตอนต้นฤดูฝนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ผลส้มร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้นยังเป็นทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียระบาดทั่วไปตามกิ่งและก้านได้อีกการป้องกันกำจัด


1.ใช้สวิงจับตัวแก่มาทำลาย

2.ใช้กำมะถัน 2 กระป๋อง ผสมขี้เลื่อยเฉลี่ย 3-4 ปี๊ป กองไว้ในสวนแล้วจุดไฟเป่าให้มีควันอยู่เสมอจะช่วยป้องกัน และไล่มวนเขียวได้

3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นโมโนใครโตฟอส


--------------------------------------------------------------------------------

2. หนอนชอนใบ


หนอนผีเสื้อชนิดนี้จะทำลายเฉพาะ ใบอ่อน ทำให้ใบงอผิดรปเดิม ใบที่ถูกทำลายจากการเจาะจะมีรอยวกไปเวียนมา ผิวใบจะเป็นฝ้าขาวแห้ง และร่วงหล่น ส่วนใบแก่จะไม่ถูกทำลาย หนอนจะเลือกกินส่วนผิวที่มีสีเขียวของใบอ่อนทำให้ใบหงิกงอ เป็นฝ้าขาวแห้ง จะทำให้การเจริญเติบโต หยุดชงัก บางครั้งจะเกาะกิ่งอ่อนของส้มด้วย นอกจากนี้ยังเป็น ทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลายได้อีก เซ่น ช่วยเป็น พาหนะในการระบาดของโรคขี้กลาก (โรคแดงเกอร์) อีกด้วย

การป้องกันกำจัด

1.ใช้มือจับหนอนทำลาย และตัดใบที่ถูกหนอนทำลายมาเผาไฟทิ้ง ในกรณีที่เป็นสวนส้มขนาดเล็ก

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมีเช่น ใดเมทโซเอท ผสมเฟนวาลีเรท อัตรา 4:1 ฉีดพ่นในระยะที่ส้มแตกใบอ่อนให้ ทั่วถึงตลอดทั้งลำต้นจึงจะได้ผล



--------------------------------------------------------------------------------


3. หนอนผีเสื้อกินใบ

เป็นหนอนผีเสื้อกลางวันชนิดหนึ่งซึ่งวางไข่ไว้ตามใบอ่อนของส้ม หนอนจะกัดกินใบอ่อนจนถึงแกน ทำให้ใบร่วง โดยเฉพาะต้นกล้าจะได้รับความเสียหายมาก นอกจากนี้หนอนยังทำลายพวกกิ่งที่มีผลทำให้ผลร่วงได้ง่ายการป้องกันกำจัด


1.ใช้มือจับหนอนและดักแด้มาทำลายในเมื่อยัง ไม่ระบาดมากนัก

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โมโนใครใตฟอส หรือ เอนโดซัลแฟน หรือ เมทธามิโดฟอส

3.ในสภาพธรรมขาติมีแมลงวันก้นขนเป็นศัตรู ธรรมชาติ ในระยะดักแด้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารเคมี เมื่อต้นส้มไม่มียอดอ่อน และเมื่อพบว่าดักแด้ถูกศัตรูธรรมชาติ เข้าทำลาย



--------------------------------------------------------------------------------



4. ด้วงงวงกัดกินใบ

ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้จะกัดกินใบทำให้ใบแหว่ง หรือเป็นรูพรุน ถ้ามีมากจะกัดกินใบจนเหลือแต่กิ่งการป้องกันกำจัด



1.เขย่ากิ่งเพื่อให้ด้วงล่วงลงมา แล้วนำไปทำลาย

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอส หรือ ดาร์บารีล ฉีดพ่นในระยะที่ส้มโอแตกใบอ่อน



--------------------------------------------------------------------------------



5. ผีเสื้อมวนหวาน

เป็นผีเสื้อกลางคืนที่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ชาวสวนส้มโอเป็นอย่างมากในปีหนึ่ง ๆ โดยการดูดกินน้ำหวานของผลส้มโอที่เริ่มแก่ถึงแก่จัด ผีเสื้อชนิดนี้จะใช้ปากแทงเข้าไปในผลส้มโอ ทำให้บริเวณที่แทงเน่า ต่อมาจะร่วงหล่นไปก่อนกำหนดแก่ ส้มที่ได้รับความเสียหายจากผีเสื้อ ชนิดนี้อาจลังเกตได้จากน้ำที่ไหลออกมาจากรูของผลการป้องกันกำจัด


1.ใช้กับดักไฟฟ้าที่มีกำลังแรงเทียนสูง ล่อให้เข้ามาเล่นไฟ

2.ใช้สวิงจับผีเสื้อ

3.การรมควันหรือใช้ยาพวกไล่แมลง

4.ใช้พวกเหยื่อพิษที่บรรจุขวดหรือกระถางดินเผาแขวนไว้ที่ก้นผลไม้ก่อนที่ผลไม้จะแก่ประมาณ 1 เดือน ต้องคอยเปลี่ยนเหยื่อพิษทุกสัปดาห์

5.ใช้สารเคมีฉีดพ่นในระยะที่กำลังเป็นตัวหนอนอยู่จะช่วยลดความเสียหายลงได้บ้าง

6.ทำกรงดัก โดยใช้ผลไม้สุกเป็นเหยี่อล่อให้ผีเสื้อมวนหวานมาติดกรง


--------------------------------------------------------------------------------


6. หนอนกินลูก

ในระยะที่เป็นหนอน จะชอนไชเข้าไปในผลอ่อน ทำให้ผลเหี่ยวเน่าและร่วงหล่นการป้องกันกำจัด


1.นำก้มที่ถูกทำลายไปฝังหรือเผา

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดาร์บารีล ให้ทั่วเพื่อกำจัดหนอนที่ปักออกจากไข่ใหม่ๆ เมื่อหนอนเจาะเข้าไป ในผลส้มแล้วการกำจัดจะไม่ได้ผลเลย


--------------------------------------------------------------------------------

7. หนอนมวนใบส้ม

หนอนผีเสื้อขนิดนี้จะวางไข่บนใบส้ม ตัวหนอนจะกัดกินใบส้มและม้วนใบทำเป็นรังอาศัยอยู่ซึ่งจะทำให้ส้มมีผลผลิตลดน้อยลง

การป้องกันกำจัด


1.ใช้มือจับหนอนและดักแด้อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนมาทำลาย

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอส


--------------------------------------------------------------------------------


8. หนอนเจาะกิ่งส้ม

หนอนจะเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ตามกิ่งและลำต้นที่ปากรูจะเห็นเป็นขุย ๆ บางครั้งจะทำให้มียางไหลเยิ้มออกมา กิ่งส้มที่ถูกเจาะจะแห้ง ต้นส้มไม่เจริญเติบโตการป้องกันกำจัด


1.ตรวจดูตามกิ่งและลำต้นส้ม ถ้าพบตัวหนอนและตัวแกให้รบทำลาย

2.ในกรณีของกิ่งส้มเล็กที่ถูกทำลายให้ตัดเผาไฟ

3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดคลอร์วาสฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะแล้วเอาดินเหนียวอุดรูไว้

--------------------------------------------------------------------------------

9. เพลี้ยอ่อนสีเขียว


เพลี้ยอ่อนชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ใบนั้นหยิกและงอต้นแคระแกรน การเจริญเติบโตหยุดชงัก เพลี้ยอ่อนจะขับสาร ออกมาจากร่างกายเป็นน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะในการเจริญเติบโตของราดำที่กิ่งและใบอีกด้วยการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท

2.ไข้ยาฉุน 1 กิโลกรัม น้ำ 60 ลิตร สบู่ 180 กรัมแช่ยาฉุนไว้ 1 คืน หรือต้มให้เดือด 1 ชั่วโมงครึ่ง ผสมน้ำและสบู่ตามจำนวนฉีดพ่นให้ถูกตัวเพลี้ยอ่อน


--------------------------------------------------------------------------------

10. ไรแดงส้ม

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรแดงส้มชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ผล และกิ่งอ่อนของต้นส้มซึ่งจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายนั้นเห็นเป็นจุดสีอ่อนๆ ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ ขยายตัวออกไปทั่วจนมีสีเทาหรือสีตะกั่ว ในกรณีที่พบระบาดมากๆ ก็จะทำให้ใบและผลร่วงหล่นได้ และอาจจะทำให้ผลที่ถูกทำลายมีลักษณะแคระแกรนและคุณภาพเสื่อมลงมักระบาดมากในฤดูแล้งการป้องกันกำจัด



1.พ่นด้วยกำมุะถันผงละลายน้ำ อัตรา 4 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ควรพ่นในเวลาเข้าเพื่อป้องกันใบไหม้

2.ฉีดด้วยสารเคมี เช่น โปรปาไจท์

3.ฉีดด้วยน้ำธรรมดาโดยใช้เครื่องฉีดที่มีความดันสูง



--------------------------------------------------------------------------------


11. เพลี้ยแป้งส้ม

เพลี้ยแป้งส้มชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งใบและผลส้ม ซึ่งจะทำให้ผลส้มร่วงก่อนแก่ตามกำหนด และจะเป็นทางทำให้เกิดราดำคลุมทั่วไป ตามกิ่งของต้นการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยยาจำพวก ไวท์ออย ผสมกับ มาลาไธออน

2.กำจัดมดซึ่งเป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง


--------------------------------------------------------------------------------



12. เพลี้ยไฟส้ม

เพลี้ยไฟจะเจาะเข้าไปในผิวใบและดูดกินน้ำเลี้ยงของใบส้ม ผลที่ยังอ่อนเพลี้ยไฟจะเจาะตรงส่วนที่ อยู่ใกล้กับกลีบดอกเมื่อผลโตขึ้นก็จะเจาะบริเวณใกล้เคียงกับขั้วทำให้บริเวณที่ถูกเจาะนั้นมีรอยเป็นสะเก็ดสีเทา ส่วนใบที่ถูก ทำลายนั้นก็จะแคระแกรนและหงิกงอ นอกจากใบและผลแล้วเพลี้ยไฟยังทำลายกิ่งอ่อนและดอกอีกด้วยการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นคัวยยานิโครตินซัลเฟต เข้มข้น 0.05%

2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท , คาร์บารีล หรือ ดาร์โบชัลแฟน ในระยะที่ระบาดมาก ๆ ประมาณ 7-10 วัน ต่อครั้ง


--------------------------------------------------------------------------------









โรคยางไหล โรคโคนเน่าและรากเน่า

โรคใบแก้ว โรคแคงเกอร์

โรคแสค๊ป โรคราสีชมพู

โรคจุดสนิม โรคราดำ


--------------------------------------------------------------------------------

1. โรคยางไหล

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่แสดงให้ เห็นคือ มีน้ำเหลวสีน้ำตาลไหลออกมา หรือเกาะติดตามกิ่งและ ลำต้น มีแผลเล็กๆ อยู่ตรงส่วนที่ยางไหลออกมา เริ่มแรกจะ เห็นเป็นจุดวงสีน้ำตาล ต่อมาจุดนี้จะลามออกไปเป็นแผลใหญ่ๆ มีน้ำยางสีน้ำตา.ลไหลออกมามากมายหรือรอบกิ่ง หรือเกาะเหนียวอยู่ตามกิ่งและ ลำต้น ถ้าต้นที่โตแล้วเป็นมากจะสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหลืองเล็กและหลุดร่วงไป ต้นแสดงอาการทรุดโทรม ผลเล็ก ยอดแห้ง ในที่สุดต้นก็จะตายการป้องกันกำจัด



1.ถ้าพบอาการเป็นแผลและยางไหลออกมาให้รีบเฉือนเปลือกไม้ส่วนที่เป็นแผลออกให้หมด ทาแผลรวมทั้งรดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารเคมี เข่น ฟอสเอทธีล อีล

2.อย่าให้น้ำขังหรือท่วมบริเวณต้นส้มโอเป็นเวลานานๆ ควรทำการระบายน้ำอย่าให้ขังหรือชื้นแฉะ

3.ส้มที่ตายแล้วหรือส่วนของส้มที่ตัดทิ้งนำมารวมกันเผาทำลาย


--------------------------------------------------------------------------------



2. โรคโคนเน่าและรากเน่า



โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันกับโรคยางไหลมักจะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน เริ่มจากเปลือกจะเป็นจุดๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่า เปลือกอ่อนหลุดออกมาได้ง่าย ถ้าอากาศชื้นทิ้งไว้ 1 - 2 วัน จะเห็นเส้นใยของราฟูขาวขึ้นมา อาการเน่าจะลุกลาม ออกไป เปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา เมื่อเน่ารอบ โคนต้นส้มจะตาย อาการที่รากจะเป็นเช่นเดียวกับที่โคนต้น ในระยะนี้ใบจะเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้ง และตายในที่สุดการป้องกันกำจัด



การป้องกันกำจัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคยางไหล


--------------------------------------------------------------------------------



3. โรคใบแก้ว



โรคนี้อาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารหรือเชื้อมายโคพลาสมา อย่างใดอย่างหนึ่งจะพบมาก หลังจากที่ต้นส้มโอให้ผลไปแล้ว 2 - 3 ปี ส้มให้ผลดกมากเกินไป อาการที่พบบนใบจะทำให้ใบเล็กลง ใบมีสีเหลือง ใบชี้ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม โดยเฉพาะใบแก่จะแสดงอาการเหลืองเป็นจ้ำ ๆ ก่อนที่ส้มจะปรากฏอาการของโรคบนใบรุนแรงนั้น ส้มจะอยู่ในลักษณะงามเต็มที่ออกดอกมาก ถ้าอาการรุนแรงผลจะร่วงมากผิดปกติ อาการอีกชนิดหนึ่งคือส้มโอให้ผลผลิตสูงโดยตลอดติดต่อกัน 2-3 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เริ่มทรุดโทรมและแห้งตายไปในที่สุดการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท เพื่อป้องกัน แมลงพาหะ ฉีดเมื่อส้มเริ่มแตกใบใหม่

2.อย่าปล่อยให้ต้นติดผลมากจนเกินควร ถ้าออกผลมากควรปลิดทิ้งให้เหลือพอเหมาะกับขนาดของต้น

3.หลังเก็บผลแล้วควรตัดกิ่งและบำรุงดินให้อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะควรไข้ปุ๋ยอินทรีย์ไห้มาก เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตามด้วยปุ๋ยเคมี

4.การปลูกส้มโอทดแทนหรือเริ่มทำสวนส้มใหม่ ๆ ควรแน่ใจว่าใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค

5.เมื่อพบว่าต้นใดเป็นโรคใบแก้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นทิ้ง ถ้าเป็นทั้งต้นให้ขุดไปเผาไฟทำลาย

--------------------------------------------------------------------------------


4. โรคแคงเกอร์

โรคนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดในระยะที่ใบอ่อนและผลที่ยังอ่อน แรก ๆ จะเห็นเป็นจุดใส ๆ ขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มหมุดสีขาวหรือเหลืองอ่อน กระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาจะยายโตขึ้นนูนทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผลจะกลายเป็นสีเหลือง ภายในแผลมีลักษณะขรุขระ ถ้าเป็นมากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่ กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ถ้าเป็นมากทำให้กิ่งตายได้การป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมื่อมีนนอนชอนใบระบาดเพราะหนอนทำให้ใบและกิ่งเป็นแผล เชื้อโรคระบาดเข้าไปได้ เนื่องจากหนอนชอนใบเป็นพาหะ

2.กิ่งที่จะนำไปปลูกใหม่ต้องปราศจากโรค

3.ตัดกิ่งที่เป็นรุนแรงมากไปเผาทำลาย

4.ตัดแต่งกิ่งภายในทรงต้นให้โปร่ง

5.ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรค เช่น สเตรปโตมัยซิน 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ร่วมกับ ยากำจัดหนอชอนใบ


--------------------------------------------------------------------------------



5. โรคแสค๊ป

โรคนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เป็นได้ทุกระยะ อาการจะเป็นแผลนูนๆ กลีน้ำตาลที่ใบหรือที่ด้านใต้ของผลจะเป็นรอยบุ๋ม แผลมักจะติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้ใบบิดเบี้ยว บางทีมียางไหลออกมาการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยการเคมี เข่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์

2.ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย


--------------------------------------------------------------------------------



6. โรคราสีชมพู

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งอาการ เริ่มแรกจะ.ปรากฏภายในเปลือกของกิ่ง จะเป็นจุดช้ำเล็ก ๆ สีน้ำตาล ต่อมาแผลจะรุกรามถึงกันทำให้กิ่งแห้งตาย จะเห็น สีชมพูของราตรงส่วนที่แห้งคล้ายกับเอาปูนแดงไปป้ายไว้ กิ่งที่เป็นโรคจะมีใบเหี่ยวและร่วงการป้องกันกำจัด



1.ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง

2.ถ้าเป็นมากๆ ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

3.ฉีดพ่น ด้วยสารเคมี เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์


--------------------------------------------------------------------------------


7. โรคจุดสนิม

เกิดจากสาหร่ายชนิดหนึ่ง อาการจะพบตามกิ่งใบและผลระบาดมากในฤดูฝนจะเห็นเป็นจุดกลม สีเขียวหรือแดงคล้ายกำมะหยี่ขี้นอยู่บนใบ ขนาดไม่แน่นอน ถ้าเกิดบนกิ่งจะทำให้กิ่งแตก ใบที่อยู่บนกิ่งนั้นจะเขียวซีดกิ่งแห้งตาย บนผลจะทำให้เนื้อเยื่อนูนผิดปกติ ผิวเปลือกแตกออกการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นเดียวกับโรคแสค๊ป

2.ตัด กิ่ง ใบ และผล ที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

--------------------------------------------------------------------------------


8. โรคราดำ

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักพบในสภาพที่มีหมอกลงจัด อากาศชื้นจะมีเชื้อราขึ้นตามใบและผลเป็นสีดำ ถ้าเป็นมากจะคลุมใบไม่ให้ได้รับแสงแดด ต้นส้มจะไม่งามเท่าที่ควร ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลร่วง โดยเฉพาะผลอ่อนการป้องกันกำจัด



1.ฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งเพื่อชะล้างเชื้อราโดยตรง

2.ฉีดพ่นสารเคมีปีองกันเชื้อราเป็นครั้งคราว

3.ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดที่มาเกาะกินใบและถ่ายมูลทิ้งไว้ ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราอย่างดี สารเคมีที่ใช้ เช่นไดเมทโธเอท

แหล่งที่มา :  http://web.ku.ac.th/agri/somo2/so0.htm

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกลำไย


การปลูกลำไย


ลำไย เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อย เจริญเติบโตได้ดีในเมืองร้อน ปัจจุบันนี้ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นพืชที่น่าสนใจยิ่งของชาวสวน เพราะเป็นผลไม้ที่มีราคาดีและมีคู่แข่งน้อยมากในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ลำไยยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

 

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม



1. ดินและสภาพพื้นที่ ลำไยต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลางดินมีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนเหนียว พื้นที่ดินควรมีความสูงพอสมควร



2. น้ำและความชื้น ในเขตที่ไม่มีการชลประทานต้องการปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมประมาณ 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ถ้าลดลงต่ำมากาจะทำให้ดอกผลแห้งร่วงไป อุณหภูมิต่ำประมาณ 10-12 องศาเซลเซียส เมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลแห้งและแตก



พื้นที่ปลูกลำไยในประเทศไทย



การปลูกลำไยส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 80% ของลำไยปลูกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง นอกจากนี้ก็มีปลูกกันบ้างในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่คุณภาพของลำไยต่ำกว่าในภาคเหนือ



พันธุ์ลำไย



ลำไยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



1. ลำไยเครือ เป็นลำไยที่มีผลเล็ก เมล็ดโต มีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นกำมะถัน มีปลูกทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ



2. ลำไยต้น เป็นลำไยที่รู้จักกันทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


- ลำไยพื้นเมือง (ลำไยกระดูกหรือลำไยผลเล็ก) มีผลเล็กเมล็ดโต เนื้อบาง ให้ผลดก เปลือกลำต้นขรุขระมาก ต้นตรงปัจจุบันนิยมใช้ทำต้นตอ



- ลำไยกระโหลก เป็นลำไยที่นิยมบริโภคกันมาก ปัจจุบันมีพันธ์ใหม่ ๆ มาก พันธุ์ที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่พันธ์ อีดอ แห้ว สีชมพู และเบี้ยวเขียว



พันธุ์ลำไยกระโหลก



1. พันธุ์แดงกลม (อีแดง) ให้ผลดกที่สุด ความสม่ำเสมอในการออกผลดี แต่มีราคาต่ำ เพราะผลเล็ก เมล็ดโต เนื้อบาง แฉะ แตกง่าย เก็บไม่ได้นาน และไม่ต้านทานต่อสภาพน้ำขัง


2. พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์เบา แก่ก่อนพันธุ์อื่น ขายได้ราคาดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลสม่ำเสมอ ไม่เว้นปี ผลผลิตดีพอควร คุณภาพปานกลาง เนื้อไม่ค่อยกรอบ มีกลิ่นคาวเล็กน้อย


3. พันธุ์แห้ว เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการบริโภคดีมาก เนื้อแห้ง สีขาวขุ่นและกรอบที่สุด เปลือกหนา ทนทานต่อการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน แต่มีข้อเสียคือ ออกผลไม่สม่ำเสมอมักเว้นปี มีช่วงการเก็บผลสั้น ก้านแข็งทำให้บรรจุภาชนะยาก ผลเบี้ยวเล็กน้อย จึงปลอมขายเป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ซึ่งราคาดีกว่า แต่ก็เป็นพันธุ์เดียวที่โรงงานต้องการมากเพราะกรอบทน


4. พันธุ์สีชมพู มีคุณภาพการบริโภคดีมาก รสหวานจัดที่สุด เนื้อสีชมพู หนา กรอบ มีกลิ่นหอม ช่อยาว ปีที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีจะให้ผลผลิตสูงมาก มีข้อเสียคือ ค้นไม่ค่อยแข็งแรง ต้องการดินอุดมสมบูรณ์ และการดูแลรักษาดี มีน้ำสม่ำเสมอและความชื้นในอากาศสูงพันธุ์นี้เป็นที่นิยมมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ


5. พันธุ์เบี้ยว (อีเบี้ยว) เป็นพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลาน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ


- เบี้ยวเขียวก้านแข็ง มีเมล็ดและผลโต เนื้อกรอบ เปลือกหนา คล้ายกับพันธุ์แห้ว ผลไม่ดก ออกผลไม่สม่ำเสมอ ก้านช่อสั้น จึงไม่ค่อยนิยมนัก


- เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีคุณภาพในการบริโภคดี กรอบมาก รสหวานจัด ผลโตสม่ำเสมอกัน เปลือกหนา เก็บไว้ได้นาน ช่อยาวให้ผลดกมาก ออกผลล่ากว่าพันธุ์อื่นทำให้มีราคาดี ก้านช่อยาว บรรจุภาชนะได้สะดวก



พันธุ์เบี้ยวเขียวมักถูกปลอมขายโดยใช้พันธุ์แห้วทั้งกิ่งตอนและผล แต่อาจสังเกตความแตกต่างได้บ้างจาก



ก. ช่อผล พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีช่อผลยาว และมีความโน้ม แต่พันธุ์แห้วมีช่อผลสั้นแข็งทื่อและผลไม่สม่ำเสมอ



ข. ผล พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อนจะมีผลเบี้ยวเห็นได้ชัดเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว แต่พันธุ์แห้วมีเปลือกสีน้ำตาลคล้ำปนดำ



ค. ใบ พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน มีใบบางสีเขียวคล้ำเป็นมันและพลิ้วเล็กน้อย แต่พันธุ์แห้ว แผ่นใบค่อนข้างเรียบ ยาวทื่อ หนา


6. พันธุ์กระโหลกใบดำ (ใบดำ อีดำ) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดกออกผลล่า ช่วงเวลาการเก็บยืดไปได้นาน ช่อผลยาว ขนาดผลสม่ำเสมอบรรจุภาชนะได้สะดวก ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำขัง แฉะ มีข้อเสีย คือ เนื้อค่อนข้างเหนียว ผลไม่โต ผิวไม่สวย



7. พันธุ์ปู่มาตีนโค้ง มีผลสวยมากขนาดใหญ่ที่สุด สีเขียวสวยให้ผลดก แต่คุณภาพเลวมาก รสไมดี และมีกลิ่นคาวจัด (กลิ่นกำมะถัน)



แหล่งพันธุ์ลำไย



ปัจจุบันไม่มีการปลูกลำไยเพื่อขยายพันธุ์โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องติดต่อชื้อกับชาวสวนลำไยทั่วไปโดยอาจติดต่อกับชาวสวนโดยตรง หรือเพื่อความแน่นอนอาจติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหรือเกษตรอำเภอในแหล่งปลูกลำไยนั้น การสั่งกิ่งตอนนั้นในช่วงติดผล ผู้ซื้อควรไปสังเกตดูว่าต้นไหนดก มีคุณภาพดี แล้วกำหนดกิ่งตอนเป็นต้น ๆ ไป ควรสั่งซื้อก่อนฤดูการทำกิ่งตอน และมาดูแลการตัดกิ่งตอนด้วยตนเองก่อน ควรจะซื้อให้มากกว่า ปริมาณที่ต้องการใช้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์







วิธีการปลูกลำไย



ลำไยเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอนเนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือต้นไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง, การทาบกิ่ง และการเสริมราก โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ป้องกันต้นลำไยโค่นล้ม

การขยายพันธุ์ลำไยด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้






การขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบกิ่ง



การปลูกลำไยในปัจจุบันชาวสวนลำไยมักปลูกลำไยด้วยกิ่งตอนจึงทำให้เกิดปัญหาการโค่นล้มเนื่องจากลมพายุ ทั้งนี้เนื่องจากระบบรากของลำไยที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นระบบรากพิเศษ คือ ระบบรากแบบนี้จะแผ่กว้างไปในแนวนอน จากการสังเกตรากของลำไยจะน้อย ประกอบกับลำไยมีทรงพุ่มทึบและกว้างในปีที่ลำไยติดผลมาก ๆ เมื่อเกิดลมพายุจึงมักจะโค่นล้ม พบว่าปีหนึ่ง ๆ ลำไยถูกพายุโค่นล้มเป็นจำนวนมาก วิธีการที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทางหนึ่ง คือการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไยด้วยกิ่งที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน การเสียบกิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

 
การเตรียมต้นตอ



ต้นตอที่จะใช้ในการเสียบกิ่งได้จากการเพาะเมล็ด เมื่อแกะเอาเนื้อออกควรรีบนำไปเพาะทันที หากเก็บเมล็ดไว้นานเมล็ดจะสูญเสียความงอก มีการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดลำไย พบว่าเมล็ดที่แกะออกจากผลแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง พบว่า เพียง 10 วัน เมล็ดลำไยจะไม่งอกเลย ในกรณีที่จะเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ ควรเก็บไว้ทั้งผล โดยแช่ในสารกันราพวกเบนโนมิล ความเข้อมข้น 0.05 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 5 นาที สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วันโดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกถึง 85 เปอร์เซ็นต์ การเพาะอาจเพาะลงในถุงพลาสติกหรือเพาะในกระบะ ฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นตอได้







การเตรียมยอดพันธุ์ดี



ยอดพันธุ์ดีที่ใช้ในการเสียบกิ่งควรมีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับขนาดของต้นตอ ริดใบออกให้เหลือใบไว้ 2-3 ใบรวม มีใบย่อย 2-3 คู่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสียบยอดคือ ช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน




ขั้นตอนการเสียบกิ่ง ใช้วิธีการแบบเสียบลิ่มซึ่งได้ผลถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์


1. ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3-4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว


2. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 1 นิ้ว

3. เผยอรอยผ่าบนต้นตอแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน


4. พันด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นนำไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่นนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 40-50 วัน จึงเปิดถุง


5. นำออกจากถุง เลี้ยงไว้อีก 2 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก




การขยายพันธู์โดยวิธีการตอนกิ่ง



การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ง่าย แต่ที่ขยายพันธุ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้จำนวนต้นในปริมาณที่มากนั้นมีเทคนิคและขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้


1. การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลดี ข้อสำคัญต้นพันธุ์ต้องปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด


2. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง แต่ถ้าเป็นกิ่งนอนก็ใช้ได้ แต่การเกิดรากจะเกิดเฉพาะด้านล่างขนาดความยาวของกิ่งยาวประมาณ 75-100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร


3. ใช้มีดควั่นกิ่งเป็น 2 รอย หรืออาจจะควั่นรอยเดียวจากนั้นให้ใช้คีมปากจิ้งจกบิดโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้มีดกรีดเปลือก ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญจะถูกขูดออกมาด้วย การใช้คีมบิดจะทำให้เกิดความรวดเร็ว


4. หุ้มด้วยดินเหนียว และกาบมะพร้าว และผ้าพลาสติก มัดกระเปราะหัวท้ายด้วยเชือกฟางหรือตอก (หรือหุ้มรอยควั่นด้วยถุงขุยมะพร้าว)


5. ประมาณ 30 วัน รากจะเริ่มออกเมื่อเห็นรากมีสีขาวและมีปริมาณมากจึงค่อยตัดมาชำ
ในการตอนกิ่งเพื่อการค้า มักจะเริ่มทำในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกิ่งตอนชุดนี้จะสามารถนำไปปลูกได้ในกลาง ๆ ฤดูฝนของปีเดียวกัน




การชำกิ่งตอนลำไย มีขั้นตอนดังนี้


1. เลือกกิ่งที่มีรากสีขาว ลังเกตว่ามีปริมาณรากมากพอสมควรจึงทำการตัดกิ่งตอนลงชำควรริกิ่งและใบบางส่วนออกเพื่อลดการคายน้ำ


2. แกะพลาสติกที่หุ้มกระเปราะออก ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้รากขาดได้


3. นำกิ่งตอนลงชำในภาชนะที่บรรจุวัสดุชำ (ชาวสวนมักใช้ตะกร้าไม้ไผ่สาน หรือที่เรียกกันทางเหนือว่า "เป๊าะ") วัสดุชำประกอบด้วยดินผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2:1 วางกิ่งให้ตรง กดดินให้แน่น นำกิ่งที่ชำเสร็จแล้ว ไปเก็บไว้ในที่ร่ม ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้

อย่างไรก็ตามวิธีการใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานเป็นภาชนะปลูกมีข้อเสียคือ ปลวกมักจะเข้าทำลายกัดกินไม้ทำให้ผุง่าย และเมื่อเก็บกิ่งตอนลำไยทิ้งไว้นาน ๆ จะมีรากโผล่ออกจากภาชนะ เมื่อโดนแสงแดดรากอาจได้รับอันตราย มีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในกรณีที่เก็บกิ่งตอนไว้นาน ๆ ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้วเป็นภาชนะชำกิ่ง




การขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่ง



การเตรียมต้นตอ


เลือกต้นตออายุประมาณ 1-2 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-1.0 เซนติเมตร นำต้นตอมาล้างรากและตัดรากบางส่วนออก นำไปจุ่มในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น 8,000-10,000 ส่วนต่อล้าน นาน 5 วินาที (อาจใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 3) หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาด 4x6 นิ้ว พบว่ากิ่งทาบออกรากได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กิ่งไม่ได้ใช้สารออกรากเพียง 65 เปอร์เซ็นต์ นอกขจากนี้มีการทดลองใช้ NAA ความเข้มข้น 2,000 ส่วนต่อล้านสามารถชักนำให้กิ่งทาบ เกิดรากได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์



การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี



เลือกกิ่งกระโดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอความยาวประมาณ 20 นิ้ว ควรเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดด




ขั้นตอนการทาบกิ่ง



1. การเตรียมรอยแผลของต้นตอ โดยเฉือนแผลของต้นตอเป็นรูปลิ่มให้มีความยาวทั้งสองด้านประมาณ 1 นิ้ว

2. การเตรียมรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี เฉือนเฉียงขึ้นให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อยยาวประมาณ 1 นิ้ว


3. นำรอยแผลของต้นตอประกบกับรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน


4. พันด้วยพลาสติกให้แน่น ประมาณ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดราก






การตัดกิ่งทาบชำลงถุง



หลังจากทาบกิ่งได้ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดรากโดยสังเกตว่ารากที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากค่อยตัดกิ่งมาชำลงถุง ก่อนชำควรริดใบออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นแกะถุงพลาสติกที่หุ้มต้นตอออกควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน นำกิ่งทาบชำลงในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุชำ คือ ขี้เถ้าแกลบ:ดิน:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:2:1 นำกิ่งที่ชำเก็บไว้ในที่ร่มรำไร ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อกิ่งทาบตั้งตัวได้ดี ค่อยนำไปปลูกในแปลง โดยให้รอยต่อของกิ่งทาบอยู่เหนือวัสดุปลูก





การเสริมรากลำไย



การเสริมรากก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะได้ระบบรากแก้ว ซึ่งอาจจะได้ระบบรากแก้ว 2-3 รากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของต้นตอที่จะนำไปเสริมราก




วิธีการเสริมราก



1. นำกิ่งตอนพันธุ์ดีลงปลูกในแปลงนำต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.0 เซนติเมตร ไปปลูกรอบ ๆ ต้นของกิ่งตอนอาจใช้ 2-3 ต้น เพื่อเสริม 2-3 ราก



2. การเตรียมรอยแผลของต้นรากและกิ่งตอน ใช้วิธีแบบฝานบวบ คือ เฉือนกิ่งตอนเป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว จำนวนรอยแผลเท่ากับจำนวนของต้นราก เฉือนแผลต้นตอเฉือนเป็นรูปโล่ ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ที่สำคัญอย่าเพิ่งตัดยอดของต้นรากจนกว่ารอยแผลจะเชื่อมกัน



3. นำรอยแผลของต้นรากและกิ่งตอนมาประกบกัน โดยโน้มต้นรากเข้ามาประกบกับรอยแผลของกิ่งตอนจัดเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน พันด้วยเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกพันให้แน่น



4. ประมาณ 45 วัน เมื่อรอยแผลเชื่อมติดกันสนิทให้ตัดยอดต้นรากที่อยู่เหนือรอยแผลออก



วิธีการขยายพันธุ์ดังกล่าวนี้ในอนาคตน่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ









อ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ 50290  โทร. 0-53873938 , 0-53873939
http://www.thaigoodview.com/node/73619
http://locals.in.th/index.php?topic=9874.0

การปลูกมะม่วง


มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ อายุยืนแข็งแรง นอก จากผลของมะม่วงแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากต้นหรือ เนื้อไม้ได้อีกด้วย เช่นการก่อสร้าง การทำฟืน ทำถ่านเป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมะม่วงเป็นพืชที่ชอบ ลักษณะอากาศที่แห้ง แล้งและชุ่มชื้นหรือมีฝนตกสลับกันเป็นช่วง ๆ กล่าวคือ ก่อนที่ต้นมะม่วงจะออกดอกนั้นต้องการอากาศแห้งแล้ง และหนาวเย็นก่อน เมื่อออกดอกแล้วจึงต้องการฝนเพื่อให้ ติดผลอย่างสมบูรณ์ ลักษณะอากาศดังกล่าวเป็นลักษณะโดย ธรรมชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานอยู่ แล้ว ดังนั้นในเรื่องสภาพอากาศนี้จึงไม่เป็นปัญหาแต่ ประการใด แต่ที่จะเป็นปัญหาคือ หลังจากออกดอกแล้ว ถ้าต้น มะม่วงขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหมดไม่ติดผล ทำให้ แมลงบางชนิดระบาดมาก หรือเกิดโรคระบาดที่ช่อดอกทำ ให้ดอกหรือผลอ่อนร่วงหล่นจนหมดต้น ดังนั้นถ้าแหล่ง ปลูกอยู่ใกล้น้ำสามารถให้น้ำช่วยในช่วงเวลาที่ต้อง การ ประกอบกับการใช้วิทยาการใหม่ ๆ ก็สามารถทำให้มะม่วงติด ผลได้ไม่ยากนัก



มะม่วงมีมากมายหลายสิบพันธุ์ อาจแบ่งเป็นได้ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ คือ
1. มะม่วงสำหรับรับประทานผลดิบ เช่น พิมเสนมัน แรด เขียว สวย เป็นต้น

2. มะม่วงสำหรับรับประทานผลสุก เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน เป็นต้น

3. มะม่วงสำหรับดอง เช่น มะม่วงแก้ว เป็นต้น

4. มะม่วงสำหรับบรรจุกระป๋อง เช่น ทำน้ำคั้น มะม่วงแช่อิ่ม เช่น มะม่วงสามปี เป็นต้น


มะม่วงสามารถปลูกได้ทั่วไปและปลูกได้ทุกภาค ของประเทศ แต่จะให้ผลไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน ไปตามสภาพของท้องที่ การปลูกมะม่วงเป็นการ ค้าและปลูกเป็นจำนวนมาก ๆ ควรคำนึงถึงสภาพดิน ฟ้าอากาศที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกมะม่วงคือ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ มะม่วงทั่ว ๆ ไปต้อง การช่วงแล้งก่อนการออกดอก สำหรับในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตรต่อปีและมี ช่วงแล้งคั่นระหว่างช่วงที่ฝนตก อาจกล่าวได้ว่า สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกภาค นอกจากบางท้องที่ที่ มีฝนตกชุกทั้งปี ไม่มีช่วงแล้งคั่นเลย โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะ ที่มะม่วงจะออกดอก ถ้ามีฝนตกหรือความชื้นมาก ยอดที่แตกมาใหม่จะเจริญไปเป็นใบเสียหมด แทน ที่จะเจริญเป็นดอก ในสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกมะม่วงเป็นการค้านอกจาก จะปลูกพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ช่วย เร่งการออกดอก



ในระยะที่มะม่วงแทงช่อ ดอกกำลังบาน ไม่ควรมี ฝนตกเลย หรือมีฝนตกเพียงเล็กน้อย เพราะฝนที่ ตกหนักในช่วงนี้จะทำให้ดอกเสียหาย ฝนจะ ชะละอองเกสรหลุดไปจนหมด ทำให้แมลงต่าง ๆ ไม่ สามารถช่วยผสมเกสรได้ มะม่วงก็จะไม่ติดผล ฝนที่ ตกจะทำให้ความชื้นของอากาศสูง เหมาะแก่การ ระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงซึ่งจะทำลายดอกให้เสียหาย และเกิดเชื้อราดำตามมา ทำให้ดอกและผลอ่อน ร่วงเสียหายได้มากเช่นกัน



2. อุณหภูมิ

ปกติมะม่วงชอบอากาศร้อน และทนต่ออากาศที่ร้อนและ แหห้งแล้งได้ดีไม่ชอบอากาศที่เย็นจัด ถ้าอากาศ เย็นจัดเกินไปต้นมะม่วงอาจตายได้ สำหรับในประเทศ ไทยยังไม่พบว่าเกิดความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิ ร้อนหนาวของอากาศอย่างเด่นชัดนัก จึงสามารถ ปลูกมะม่วงได้ทุกภาค และเป็นที่สังเกตได้ว่า ปีใด อากาศหนาวมาก ปีนั้นมะม่วงจะออกดอกมาก



3. ดิน

มะม่วงปลูกได้ในดินทั่วไป ดินที่มะม่วงชอบคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีธาตุ อาหารอย่างเพียงพอที่สำคัญคือดินปลูกต้องระบาย น้ำดี มะม่วงไม่ชอบดินที่เหนียวจัด จับกันเป็นก้อน แข็งจนน้ำระบายไม่ได้ต้นมะม่วงที่ปลูกในดิน ที่ระบายน้ำไม่ดี หรือที่น้ำขังแฉะจะเติบโตช้า รากไม่ค่อยเจริญ รากดำ และอาจเน่าตายในที่สุด การ ปลูกมะม่วงจึงนิยมปลูกกันในที่สูง ๆ เพื่อให้การ ระบายน้ำดี ส่วนการปลูกในที่ลุ่มควรยกร่อง เช่น เดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น และปรับปรุงดินให้ร่วน ซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ก่อนที่จะ ลงมือปลูก


4. ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน

ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน จะเป็นสิ่ง ที่คอยบังคับการเจริญเติบโตของรากมะม่วงและ ต้นมะม่วง ถ้าระดับความลึกของหน้าดินน้อย มีดิน ดานอยู่ข้างล่างหรือดินปลูกมีระดับน้ำในดินตื้น รากมะม่วงก็ไม่สามารถหหยั่งลึกลงไปในดินได้แต่ จะแผ่ขยายอยู่ในระดับตื้น ๆ ทำให้ต้นมะม่วงไม่ เติบโตเท่าที่ควร ต้นมีอายุไม่ค่อยยืนและโค่น ล้มได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากต้นมะม่วงที่ปลูกใน ที่ดอนจะมีอายุอยู่ได้นานและต้นใหญ่โต มาก ส่วนการปลูกในที่ลุ่ม อายุของต้นมักไม่ค่อยยืน และเติบโตช้ากว่าการปลูกแบบอื่น



5. ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

มะม่วงไม่ชอบดินที่เป็นด่างมากหรือดินที่มี หินปูนมาก ดินที่เป็นด่างจะทำให้มะม่วงเติบโต ช้า โดยเฉพาะต้นอ่อนจะตายง่าย ดินที่เหมาะสำหรับ มะม่วงคือดินที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง (pH. 6.5-7.5)



6. น้ำ

ถึงแม้มะม่วงจะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่น้ำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะม่วงเช่นกัน หากมี น้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงอย่างเพียงพอ จะช่วย ให้ต้นมะม่วงเติบโตเร็ว แข็งแรง ไม่ชะงักการเติบโต โดยเฉพาะระยะที่มะม่วงกำลังติดผลเล็ก ๆ ถ้ามีน้ำ ให้อย่างเพียงพอจะทำให้ติดผลได้มาก ผลมัก ไม่ร่วง การปลูกมะม่วงจึงควรมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ ๆ การ พึ่งแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียวววย่อมไม่ได้ผลเท่า ที่ควร


7. ลม

ปัญหาอีกประการหนึ่งของการปลูกมะม่วงก็คือ ผล มะม่วงร่วงหล่นเพราะลมแรง ทั้งนี้เนื่องจากเพราะก้าน ผลมะม่วงยาวและแกว่งไกวได้เมื่อลมพัด ทำให้ ผลกระทบกระแทกกันร่วงหล่นมาก บางแห่งผลมะม่วง อาจร่วงหล่นเพราะเหตุนี้เกินกว่าครึ่1. การเตรียมดิน


1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่าง ๆ ต้องยกร่องเสียก่อนเช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องนั้นแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ หลังร่องยิ่งยกได้สูงมากยิ่งดี รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้วให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดย การขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรด ของดินและทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะม่วงไม่ชอบดินที่จับตัวกันแน่น การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกแบบยกร่อง เพราะดินตามที่ราบลุ่มมักจะเป็นดินเหนียวจัด การขุดยกร่องใหม่ในปีแรก ดินอาจยังไม่ร่วนซุยดีพอ ให้ปลูกพืชผักอย่างอื่นสัก 1-2 ปี จนเห็นว่าดินร่วนซุยดีพอแล้วจึงลงมือปลูกมะม่วงซึ่งจะได้ผลดี และไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่า มีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยอยู่แล้ว อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเ ล็กน้อย ก็ลงมือปลูกได้เลย

1.2 ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า หรือที่ที่เคยเป็นไร่เก่า ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเตรียมที่ปลูก ถ้ามีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ให้โค่นถางออกให้หมด เหลือไว้ตามริม ๆ ไร่เพื่อใช้เป็นไม้กันลม แต่ถ้าบริเวณนั้นมีลมแรงอยู่เป็นประจำก็ ไม่ควรโค่นไม้ใหญ่ออกขนหมด ให้เหลือไว้เป็นระยะ ๆ จะใช้กันลมได้ดี เมื่อปราบที่เรียบร้อยแล้ว ให้ปรับปรุงดินโดยไถพรวนพ ลิกดินสัก 1-2 สัก หรือจะกำจัดวัชพืชแล้วลงมือขุดหลุมปลูกเลยก็ได้ ถ้าดินที่ปลูกนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงดินอีก ส่วนที่เป็นทรายจัด มีอินทรีย์วัตถุน้อย ให้ปรับปรุงดินให้ดีเสียก่อนลงมือปลูก โดยการหาปุ๋ยคอก ปุ๋ ยหมัก เพิ่มเติมลงในดิน วัสดุที่พอหาได้ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ต่าง ๆ กระดูกป่น กากถั่ว เปลือกถั่ว เศษใบไม้ใบหญ้าที่ผุพังล้วนแ ต่เป็นประโยชน์ต่อดินและพืชที่ปลูกทั้งสิ้น ควรหามาเพิ่มลงในดินให้มาก ๆ นอกจากนี้การปรับปรุงดินอาจใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้ วิธีทำก็คือปลูกพืชพวกตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือปอเทือง แล้วไถกลบลงในดินให้ผุพังเป็นประโยชน์ต่อดิน การปรับปรุงด ินด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวจะช่วยให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี ทำให้ดินอุ้มน้ำดี เหมาะต่อการเจริญเติบโตข องต้นมะม่วง

ส่วนการปลูกจำนวนเล็กน้อยตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย มีข้อที่ควรคำนึงอยู่สองประการคือ ความลึกของระดับน้ำในดิน และความแน่นทึบของดิน ที่บางแห่งระดับน้ำในดินตื้น เมื่อขุดลงไปเพียงเล็กน้อยน้ำก็จะซึมเข้ามา เวลาจะปลูกมะม่วงควรยกระดับดิน ให้สูงขึ้น เพราะระดับน้ำจะเป็นตัวคอยบังคับการเจริญเติบโตของราก เมื่อรากเจริญไปถึงระดับน้ำแล้วจะไม่สามารถเติบโตลึกลงไปได้อีก แต่จะแผ่ขยายออกด้านข้าง ทำให้รากของมะม่วงอยู่ตื้นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เป็นผลให้ต้นมะม่วงโต ช้า แคระแกร็นและโค่นล้มง่าย

สำหรับเรื่องความแน่นทึบของดินนั้น ตามปกติเวลาถมที่เพื่อปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ก็มักจะถมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เพื่อไม่ให้ดินทรุดในภายหลัง ดินที่แน่นทึบนี้ ไม่เหมาะต่อการปลูกมะม่วงหรือไม้ยืนต้นต่าง ๆ เลย เพราะรากไม่สามารถเจ ริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศของดินไม่ดี ทำให้ต้นมะม่วงโตช้าและแคระแกร็น การแก้ไขทำได ้โดย ขุดหลุมปลูกให้กว้าง ๆ และลึก ตากดินที่ขุดขึ้นมาจนแห้งสนิท ย่อยให้เป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักให้มาก ๆ ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักลงไปในก้นหลุมด้วย เสร็จแล้วจึงกลบดินลงหลุมรดน้ำให้ยุบตัวดีเสียก่อน จึงลงมือปลูก

2. การขุดหลุมปลูก

2.1 การขุดหลุมปลูกทั้งแบบปลูกบนร่องและปลูกในที่ดอน ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการ ปฏิบัติงาน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก ก็ ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 15-20 วัน แล้วผสม ดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ก้นหลุมก็ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองพื้นไว้ด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอา ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดินชั้นล่างกลบทับลงไปทีหลัง ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินย ุบตัวดีเสียก่อน หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก

2.2 ระยะปลูก ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่

1.) ระยะปลูกแบบถี่ เช่น 2.5 x 2.5 เมตร, 4 x 4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม

2.) ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8 x 8 เมตร, 10 x 10 เมตรหรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม



3. วิธีปลูก

การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำ ให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินจะจับตัวกันแข็งและรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว

3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้น แตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป

3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิมหรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควร กลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้ปักไม้เป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ต้นที่นำมาปลูก ถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดี คือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในระยะที่ต้นยังเ ล็กอยู่นี้ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุด เพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรก ๆ อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก ่อนจะหมดฝน และสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย ส่วนที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก

3.3 การปลูกพืชแซม ต้นมะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งติดตา หรือต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จึงจะให้ผล ส่วนการปลูกด้วยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 4-6 ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ต้นยังไม่ให้ผลนี้ ถ้าปลูกแบบระยะต้นห่าง ๆ กัน จะมีที่ว่าง เหลืออยู่มาก ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ หรือพืชที่ค่อนข้างถาวรแซมเป็นการหารายได้ไปพลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยให้ที่ ดินว่างเปล่า นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย พืชที่ควรปลูกแซมระหว่างที่ต้นมะม่วงยั งเล็กอยู่คือ พวกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ซึ่งเป็นพืชช่วยบำรุงดิน เมื่อเก็บถั่วแล้วขุดสับลงดินเพื่อเป็นประโยชน์แก่ดินและพืชต่อไป ส่วนพืชที่ไม่ควรปลูกแซมคือ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น เพราะเป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว

การปลูกพืชแซมอีกวิธีหนึ่งซึ่งนิยมกันในการปลูกไม้ผลทั่วไปคือ ปลูกกล้วยลงไปก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกมะม่วงตามลงไป ต้นกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาไม่ให้ต้นมะม่วงโดนแดดจัดเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยให้ต้นมะม่วงโตเร็ว และประหยัดการให้น้ำด้วย จนเมื่อเห็นว่าต้นมะม่วงโตมากแล้วและโดนต้นกล้วยบังร่มเงา ก็ทยอยขุดต้นกล้วยออก โดยขุดต้นกล้วยที่อยู่ใกล้ ๆ ต้นมะม่วงออกก่อน จนกว่าต้นกล้วยจะหมดไป และต้นมะม่วงโตขึ้นมาแทนที่ต้นกล้วยที่ตัดหรือขุดรื้อทิ้งนั้น ให้ผ่าเป็นสองซีกใช้เป็นวัตถุคลุมดินได้ดี ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น และช่วยรักษาความชื้นของดิน การปลูกต้นกล้ วยแซมนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องเสียแรงงานมากในการขุดรื้อต้นกล้วยออก



การให้น้ำแบบร่องสำหรับสวนมะม่วงที่มีการปลูกพืชแซม การใช้หม้อดินเผาฝังดินให้น้ำซึม
มะม่วงสามารถปลูกได้ทั่วไปและปลูกได้ทุกภาค ของประเทศ แต่จะให้ผลไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน ไปตามสภาพของท้องที่ การปลูกมะม่วงเป็นการ ค้าและปลูกเป็นจำนวนมาก ๆ ควรคำนึงถึงสภาพดิน ฟ้าอากาศที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกมะม่วงคือ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศ มะม่วงทั่ว ๆ ไปต้อง การช่วงแล้งก่อนการออกดอก สำหรับในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตรต่อปีและมี ช่วงแล้งคั่นระหว่างช่วงที่ฝนตก อาจกล่าวได้ว่า สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกภาค นอกจากบางท้องที่ที่ มีฝนตกชุกทั้งปี ไม่มีช่วงแล้งคั่นเลย โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะ ที่มะม่วงจะออกดอก ถ้ามีฝนตกหรือความชื้นมาก ยอดที่แตกมาใหม่จะเจริญไปเป็นใบเสียหมด แทน ที่จะเจริญเป็นดอก ในสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกมะม่วงเป็นการค้านอกจาก จะปลูกพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ช่วย เร่งการออกดอก

ในระยะที่มะม่วงแทงช่อ ดอกกำลังบาน ไม่ควรมี ฝนตกเลย หรือมีฝนตกเพียงเล็กน้อย เพราะฝนที่ ตกหนักในช่วงนี้จะทำให้ดอกเสียหาย ฝนจะ ชะละอองเกสรหลุดไปจนหมด ทำให้แมลงต่าง ๆ ไม่ สามารถช่วยผสมเกสรได้ มะม่วงก็จะไม่ติดผล ฝนที่ ตกจะทำให้ความชื้นของอากาศสูง เหมาะแก่การ ระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงซึ่งจะทำลายดอกให้เสียหาย และเกิดเชื้อราดำตามมา ทำให้ดอกและผลอ่อน ร่วงเสียหายได้มากเช่นกัน

2. อุณหภูมิ

ปกติมะม่วงชอบอากาศร้อน และทนต่ออากาศที่ร้อนและ แหห้งแล้งได้ดีไม่ชอบอากาศที่เย็นจัด ถ้าอากาศ เย็นจัดเกินไปต้นมะม่วงอาจตายได้ สำหรับในประเทศ ไทยยังไม่พบว่าเกิดความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิ ร้อนหนาวของอากาศอย่างเด่นชัดนัก จึงสามารถ ปลูกมะม่วงได้ทุกภาค และเป็นที่สังเกตได้ว่า ปีใด อากาศหนาวมาก ปีนั้นมะม่วงจะออกดอกมาก

3. ดิน

มะม่วงปลูกได้ในดินทั่วไป ดินที่มะม่วงชอบคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีธาตุ อาหารอย่างเพียงพอที่สำคัญคือดินปลูกต้องระบาย น้ำดี มะม่วงไม่ชอบดินที่เหนียวจัด จับกันเป็นก้อน แข็งจนน้ำระบายไม่ได้ต้นมะม่วงที่ปลูกในดิน ที่ระบายน้ำไม่ดี หรือที่น้ำขังแฉะจะเติบโตช้า รากไม่ค่อยเจริญ รากดำ และอาจเน่าตายในที่สุด การ ปลูกมะม่วงจึงนิยมปลูกกันในที่สูง ๆ เพื่อให้การ ระบายน้ำดี ส่วนการปลูกในที่ลุ่มควรยกร่อง เช่น เดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น และปรับปรุงดินให้ร่วน ซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ก่อนที่จะ ลงมือปลูก

4. ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน

ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำในดิน จะเป็นสิ่ง ที่คอยบังคับการเจริญเติบโตของรากมะม่วงและ ต้นมะม่วง ถ้าระดับความลึกของหน้าดินน้อย มีดิน ดานอยู่ข้างล่างหรือดินปลูกมีระดับน้ำในดินตื้น รากมะม่วงก็ไม่สามารถหหยั่งลึกลงไปในดินได้แต่ จะแผ่ขยายอยู่ในระดับตื้น ๆ ทำให้ต้นมะม่วงไม่ เติบโตเท่าที่ควร ต้นมีอายุไม่ค่อยยืนและโค่น ล้มได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากต้นมะม่วงที่ปลูกใน ที่ดอนจะมีอายุอยู่ได้นานและต้นใหญ่โต มาก ส่วนการปลูกในที่ลุ่ม อายุของต้นมักไม่ค่อยยืน และเติบโตช้ากว่าการปลูกแบบอื่น

5. ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

มะม่วงไม่ชอบดินที่เป็นด่างมากหรือดินที่มี หินปูนมาก ดินที่เป็นด่างจะทำให้มะม่วงเติบโต ช้า โดยเฉพาะต้นอ่อนจะตายง่าย ดินที่เหมาะสำหรับ มะม่วงคือดินที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง (pH. 6.5-7.5)

6. น้ำ

ถึงแม้มะม่วงจะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่น้ำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะม่วงเช่นกัน หากมี น้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงอย่างเพียงพอ จะช่วย ให้ต้นมะม่วงเติบโตเร็ว แข็งแรง ไม่ชะงักการเติบโต โดยเฉพาะระยะที่มะม่วงกำลังติดผลเล็ก ๆ ถ้ามีน้ำ ให้อย่างเพียงพอจะทำให้ติดผลได้มาก ผลมัก ไม่ร่วง การปลูกมะม่วงจึงควรมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ ๆ การ พึ่งแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ได้ผลเท่า ที่ควร

7. ลม

ปัญหาอีกประการหนึ่งของการปลูกมะม่วงก็คือ ผล มะม่วงร่วงหล่นเพราะลมแรง ทั้งนี้เนื่องจากเพราะก้าน ผลมะม่วงยาวและแกว่งไกวได้เมื่อลมพัด ทำให้ ผลกระทบกระแทกกันร่วงหล่นมาก บางแห่งผลมะม่วง อาจร่วงหล่นเพราะเหตุนี้เกินกว่าครึ่ง



1. การให้น้ำ

หลังจากการปลูกใหม่ ๆ ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน และค่อย ๆ ห่างขึ้น เช่น 3-4 วันต่อครั้ง จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้ การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วงเพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้อง การ จะช่วยให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ได้ผลเร็วขึ้น การปลูกมะม่วงในที่ที่น้ำไม่ อุดมสมบูรณ์ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี ให้ต้นกล้ามะม่วงได้รับน้ำฝนนานที่สุด เพื่อต้นจะได้ตั้งตัวได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง หรือการปลูกต้นกล้วยก่อน แล้วจึงปลูกมะม่วงตามลงไปดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดการให้น้ำได้มาก

2. การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชต้องทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่าง ๆ จะคอยแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะม่วง และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุกรังจะกลาย เป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกำจัดวัชพืช ทำได้หลายวิธี เช่น การถางด้วยจอบ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สารเคมี และการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่าง ๆ เป็นต้น การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมขอ งแต่ละราย เช่น ถ้ามีแรงงานเพียงพอควรปลูกพืชแซมแล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อย ๆ หรือใช้วิธีไถพรวนดิน กำจัดหญ้าอยู่เสมอ แต่ถ้ามีแรงงานไม่พอควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้หลายปี

3. การใส่ปุ๋ย

มะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นพวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อปร ับปรุงดินให้ร่วนซุยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้งคือ ต้นฝนและปลายฝน ปุ๋ยอิ นทรีย์นี้แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่น ๆ นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้น แล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

3.1 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อน ข้างขาดธาตุอาหารจึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง จะทำให้ต้นโตเร็ว สมบูรณ์ ให้ดอกให้ผลได้มากและสม่ำเสมอ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจ ให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้า โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมซัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บ รดที่ต้นกล้าเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว แข็งแรงสามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็ว และเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง การใช้ปุ๋ยฟฟแสเฟตหรือกระดูกป่นใส่รองก้น หลุมก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตดี ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้ว แต่ยังไม่ให้ผล อาจใช้ปุ๋ยวิท ยาศาสตร์สูตร 4-7-5 หรือ 4-9-3 ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเป็นสูตร ที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเสียก่อนเพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ไม่เกิดการสูญเปล่า เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของแต่ละท้องที่ย่อมไม่เหมือนกัน อีกประการหนึ่งต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกล ๆ ถ้าดินนั้นเป็นดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้วก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้ การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักอยู่เสมอก็เพียงพอ

3.2 วิธีใส่ปุ๋ย เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ควรใช้วิธีขุดพรวนรอบ ๆ ต้นแล้วหว่านปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จากนั้นจึงหว่านปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตามลงไปแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในต้นที่โตแล้วอาจใช้วิธีขุดเป็นรางดินรอบต้นภายในรัศมีของทรงพุ่ม ขุดรางดินให้ล ึกประมาณ 6 นิ้ว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักลงไปในรางตามด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนภายในบริเวณทรงพุ่มให้ขุดพรวนเพียงเล็กน้อยแล้วหว่านปุ๋ยเช่นเดียวกัน

4.การออกดอกของมะม่วง

มะม่วงจะเริ่มออกดอกในราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ (ยกเว้นพวกมะม่วงทะวาย) การออกดอกของมะม่วงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์มะม่วง ความอุดมสมบูรณ์ของต้น และยังเกี่ยวข้องกับสภาพของอากาศอีกด้วย โดยจะเห็นว่า ถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นมาก มะม่วงจะออกดอกมาก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ผู้ปลูกควรได้คำนึงด้วย เพราะจะทำให้การปลูกมะม่วงได้ผลอย่างเต็มที่ กล่าวคือ ควรเลือกพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกง่าย สามารถออกดอกได้ทุกปีไม่มีเว้น รวมทั้งการบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่าง หนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเรื่องการบำรุงต้นมะม่วงหลังจากเก็บผลแล้ว เมื่อต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ก็จะสามารถออกดอกได้ง่ายกว่าต้นที่ไม่ค่อยสมบูรณ์


5.การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากในปัจจุบันก็คือการใช้สารพาโคลบิวทราโซล (ชื่อการค้ าคือ คัลทาร์ ) โดยราดสารนี้ลงในดินรอบ ๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อนกล่าวคือหลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็ มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สาร คือช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสารควรตรวจดูให้ดินมีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้ว ให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได ้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 2 เดือน ถึง 2 1/2 เดือน มะม่วงจะออกดอก (พวกออกดอกไม่ยากนัก) ส่วนพวกที่ไม่ออกดอกภายใน 2 ฝ เดือน อาจใช้สารกระต ุ้นการแตกตาช่วย เช่น ใช้โปรแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5 % หรือ ไทโอยูเรีย 0.5 % พ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซล เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม อัตราการใช้สาร ต่อตัน *

2-3 เมตร

3-4 เมตร

4-5 เมตร

5-6 เมตร

6-10 เมตร 20-30 มิลลิลิตร

30-40 มิลลิเมตร

40-60 มิลลิเมตร

60-100 มิลลิเมตร

100-200 มิลลิเมตร

* อัตราการใช้นี้คิดจากผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่มีเนื้อสารพาโคลบิวทราโซล 10 % เช่น คัลทาร์


6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล ให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ

มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากมาย แต่จะติดเป็นผลเพียงไม่กี่ผลต่อช่อเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลายประการเช่น ลักษณะของดอกมะม่วงซึ่งดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเจริญเป็นผลได้ และปัญหาที่จะพบอยู่เสมอคือ การเกิดราดำที่ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่นเสียเป็นส่วนมากหรือหมดทั้งต้น ทั้งนี้เพราะว่าที่ดอกมะม่วงจะมีต่อมน้ำหวานทำให้แมลง ต่าง ๆ มาดูดกิน โดยเฉพาะพวกเพลี้ยจั๊กจั่น ซึ่งระบาดมากในช่วงมะม่วงหล่นแล้ว ยังถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของราดำอีกด้วย ทำให้ราดำซึ่งมีอยู่แล้วตามใบและในอากาศเจริญอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่มะม่วงออกดอกนี้ อากาศมักจะหนาวเย็นและมีหมอกมากในตอ นเช้า เมื่อหมอกจับตัวเป็นละอองน้ำตามช่อดอกและใบ ราดำก็จะเจริญได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดอกร่วงหล่นจนหมด จนกลายเป็นควา มเชื่อว่า ถ้าปีใดมีหมอกจัดในระยะที่ดอกมะม่วงบาน ปีนั้นมะม่วงจะติดผลน้อย เพราะน้ำค้างเค็ม ทำให้ดอกร่วง ซึ่งความจริงแ ล้วน้ำค้างไม่ได้เค็ม แต่เป็นเพราะราดำและเพลี้ยจั๊กจั่นดังกล่าว





การปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมากควรทำดังนี้ คือ

1. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้วควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ และถ้าให้ปุ๋ยด้วยจะดียิ่งขึ้น เพราะช่วยให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์ได้รับอาหารมากขึ้น จะช่วยให้ติดผลได้ดี การรดน้ำในช่วงนี้ควรรดแต่น้อยก่อนแล้วจึง มากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ

2. การพ่นยากำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง ครั้งแรกให้พ่นระยะที่ดอกยังตูม และครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่ วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยเพื่อกำจัดราดำ ถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ

3. ถ้าไม่พ่นยากำจัดแมลง อาจช่วยให้มะม่วงติดผลได้โดยการพ่นน้ำเปล่า ๆ ในระยะที่ดอกมะม่วงบานและติดเป็นผลอ่อน การพ่นน้ำเปล่า ๆ ไปที่ใบและช่อดอกจะช่วยล้างเอามูลของเพลี้ยจั๊กจั่นออก ทำให้ใบและช่อดอกสะอาด ราดำไม่รบกวน

ยาฆ่าแมลงที่ใช้กำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นได้ดีคือ เซพวิน 85% ใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือดีลดริน 25% อัตรา 5-6 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ นอกจากนี้ยังมียาฆ่าแมลงที่ใช้กับเพลี้ยจั๊กจั่นได้ผลดี ไม่เป็นอันตรายต่อคน และสามารถทำเองได้ ได้แก่ โล่ติ้น หรือหางไหล และยาฉุน

วิธีเตรียมโล่ติ้น ใช้โล่ติ้น 1 กิโลกรัม ทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 ปี๊บ ไว้หนึ่งคืน แล้วกรองให้สะอาด เติมน้ำเปล่าลงไปอีก 19 ปี๊บ ใช้ฉีดฆ่าแมลง ได้ดี

วิธีเตรียมยาฉุน ใช้ยาฉุน 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 2 ลิตร นาน 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาแต่น้ำกรองให้สะอาด เติมน้ำอีก 3 ปี๊บ ถ้าใส่สบู่ซัลไลท์ลงไปด้วยสักก้อนต่อน้ำยาทุก 4 ปี๊บ จะยิ่งได้ผลในการฆ่าแมลงมากขึ้น

________________________________________




อ้างอิง

http://www.phtnet.org/postech/web/mango/pages/grow/grow_01.htm

http://ubr.ac.th/media/digital_library/agri/mango2/plant2.html